Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพ ระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10
Development of a Community Diabetes Care Model of Primary Health Care Service Units, Health District 10

[เปิดดู 119 ครั้ง]

อมรรัตน์ สุขเลิศ , จินตนา จุลทัศน์ และ สุภาพร ใจการุณ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยพยากรณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 และ 2) พัฒนาและทดลองใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนของหน่วยบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ เขตสุขภาพที่ 10 การวิจัยระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามปัจจัยพยากรณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise) ระยะที่ 2 กลุ่มเป้าหมายในการสนทนากลุ่ม มีจำนวน13 คน และทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้เคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยพยากรณ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน กลุ่มระดับน้ำตาลสะสมในเลือดล่าสุด (HbA1c) ต่ำกว่า 7 มี 3 ปัจจัยได้แก่ การดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหาร การดูแลตนเองด้านการออกกำลังกาย และการสนับสนุนจากบุคลากรในการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 13.5 และกลุ่มระดับน้ำตาลสะสมในเลือดล่าสุด (HbA1c) สูงกว่า 7 มี 4 ปัจจัยได้แก่ การดูแลควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การดูแลตนเองด้านการบริโภคอาหาร โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค, การสนับสนุนจากบุคลากรในการดูแลและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 22.2 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า หลังทดลองใช้ 2 เดือน น้ำหนักตัว ขนาดเส้นรอบเอว ดัชนีมวลกาย (BMI) ระดับน้ำตาลในเลือดล่าสุด (FBS) มีค่าเฉลี่ยลดลงและกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.60, S.D.=.50)

  • Abstract
  •      The purposes of this study were: 1) to investigate the factors predicting community diabetes patient care of the primary health care service units, Health District 10, and 2) to develop and experiment in using a community diabetes care model of primary health care service units, Health District 10. The sample in phase 1 of study was 400 diabetes patients. The research instrument was a questionnaire of the factors predicting diabetes patient care in the community, and the data analysis employed was stepwise regression analysis. The target samples in phase 2 for focus group discussion included 13 people and for experiment in using the model included 30 people. Data were analyzed using statistics of mean and standard deviation. For the qualitative data, content analysis was used.
        Findings of the study were as follows. 1) There were 3 factors for predicting the care of community diabetes patients whose latest blood accumulated glucose levels were below 7% according to a hemoglobin A1c(HbA1c) test, namely self-care in food consumption, self-care in exercise, and support from personnel in caring and controlling the blood sugar levels. These joint factors had predictive power of 13.5%. There were 4 factors for predicting the care of diabetes patients whose latest blood accumulated glucose levels were higher than 7% according to an HbA1c test, namely taking care to control blood sugar levels, self-care in food consumption, risk of disease, and support from personnel in caring and controlling the blood sugar levels. These joint factors had predictive power of 22.2%. 2) The developed model had 4 components, namely principles, objectives, procedures, and conditions for the success of the model. The experiment in using the model revealed that after the implementation for 2 months, the body weight, waist circumference, body mass index (BMI) and the latest fasting blood sugar (FBS) test showed a decreased mean value. The group of diabetes patients had the highest level of satisfaction ( = 4.60, S.D. =.50).

    Download Full Paper: