Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การบริหารพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสร้างพลเมืองวิถีประชาธิปไตยรู้เท่าทันสื่อ กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)และโรงเรียนกลุ่มเครือข่าย ทุ่งเทินโมเดล จังหวัดศรีสะเกษ
The Management of Creative Space for Building Democratic Citizenship through Media Literacy: The Case Study of Mueang Khong (Khongkha Withaya) School and Thung Thoen Model Network Group School, Sisaket Province

[เปิดดู 111 ครั้ง]

พวงชมพู ไชยอาลา แสงรุ่งเรืองโรจน์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารพื้นที่สร้างสรรค์ของโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) และโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทุ่งเทินโมเดล เพื่อทำให้นักเรียนเป็นพลเมืองวิถีประชาธิปไตยรู้เท่าทันสื่อ และ 2) ลักษณะการเป็นพลเมืองวิถีประชาธิปไตยรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) และโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทุ่งเทินโมเดลใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและแบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการดีจังอีสานตุ้มโฮม เครือข่ายศรีสะเกษติดยิ้ม จำนวน 8 โรงเรียน ประกอบด้วยผู้บริหารและครูจำนวน 139 คน และนักเรียนจำนวน 1,651 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) และโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทุ่งเทินโมเดล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของครอนบาค เท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ใช้กลยุทธ์ด้านหลักสูตร กลยุทธ์ด้านบุคลากร และกลยุทธ์ด้านชุมชน โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทุ่งเทินโมเดลใช้กลยุทธ์ด้านหลักสูตรและกลยุทธ์ด้านชุมชนในการบริหารการดำเนินงานของพื้นที่สร้างสรรค์ 2) นักเรียนโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) มีการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.76 มีความรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.98  มีความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.98 ส่วนนักเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายทุ่งเทินโมเดล มีการใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.98 มีการรู้เท่าทันสื่อในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.23  มีความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยในระดับมาก ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.19

  • Abstract
  •     The objectives of this research were to study: 1) to investigate the management of creative space for building democratic citizenship through media literacy in Mueang Khong (Khongkha Withaya) School and Thung Thoen Model Network Group School, Sisaket province, and 2) to examine the characteristics of democratic citizens who have media literacy among students at Mueang Khong (Khongkha Withaya) School and Thung Thoen Model Network Group School. The study was mixed methods research consisting of collecting data from the focus group discussion and questionnaire. The population of this study was 8 schools which participated in the ‘So Good, Isan Grouping’ project in Sisaket Tid Yim Network, comprising 139 administrators and teachers, and 1,651 students. A sample selected by purposive sampling was Mueang Khong (Khongkha Withaya) School and Thung Thoen Model Network Group School. The instrument used was a questionnaire which had a reliability value of 0.85 according to the Cronbach’s alpha coefficient.
        Findings of the study were as follows. 1) Mueang Khong (Khongkha Withaya) School used the curriculum, personnel and community strategies and Thung Thoen Model Network Group School used the curriculum and community strategies in the management of creative space. 2) Students of Mueang Khong (Khongkha Withaya) School used learning media at high level with an average of 3.76, had media literacy at high level with an average of 3.98, and had democratic citizenship at high level with an average of 3.98. Students of Thung Thoen Model Network School Group used learning media at high level with an average of 3.98, had media literacy at high level with an average of 4.23, and had democratic citizenship at high level with an average of 4.19.

    Download Full Paper: