Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การจัดหมวดหมู่ ทำนอง และองค์ประกอบในลายของโปงลาง
The Study of Pong Lang Song Styles: Classification of Melodies and Elements

[เปิดดู 117 ครั้ง]

ศราวุธ โชติจำรัส ธนภร เพ่งศรี และ เจริญชัย ชนไพโรจน์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดหมวดหมู่ ทำนอง และองค์ประกอบในลายของโปงลาง วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการสังเกต และการสัมภาษณ์ กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน จำนวน 6 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติจำนวน 6 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสำรวจ แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแล้วนำเสนอผลการวิจัยโดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า การจัดหมวดหมู่ ทำนอง และองค์ประกอบในลายโปงลาง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) หมวดหมู่ลายขั้นพื้นฐาน คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ มีทำนองที่สั้น กะทัดรัด เช่น ลายโปงลาง ลายเต้ย ลายเต้ยโขง ลายเต้ยพม่า ลายน้ำ โตนตาด ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายลมพัดพร้าว ลายลมพัดไผ่ ลายแมงภู่ตอมดอก 2) หมวดหมู่ลายขั้นกลาง (ลายประกอบชุดการแสดง) คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ มีทำนองที่เป็นเอกลักษณ์ ในด้านวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เช่น ลายผู้ไท (ภูไทเรณู ภูไทกาฬสินธุ์ ภูไทสกล มวยโบราณ) ลายเต้ย (เต้ยหัวโนนตาล เต้ยเกี้ยว เต้ยเดือนห้า) ลายลำเพลิน (หมากกั้บแก๊บลำเพลิน กาฬสินธุ์ลำเพลิน สารคามลำเพลิน มโนราห์เล่นน้ำ สังข์ศิลป์ชัย) ลายเซิ้ง (เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งกะโป๋ เซิ้งแหย่ไข่มดแดง              เซิ้งกลองตุ้ม เซิ้งกระติบข้าว เซิ้งสะวิง) และ 3) หมวดหมู่ลายขั้นสูง (ลายเดี่ยวโปงลาง) คือ กลุ่มเสียงลายใหญ่ ลายสุดสะแนน            มีทำนองที่ยาว สลับซับซ้อน และอัตราความเร็ว เช่น ลายกาเต้นก้อน ลายไล่วัวขึ้นภู และลายสุดสะแนน ผลการวิเคราะห์หมวดหมู่ลายขั้นพื้นฐาน หมวดหมู่ลายขั้นกลาง หมวดหมู่ลายขั้นสูง อยู่ในกลุ่มเสียงลายใหญ่ ลายสุดสะแนน มีทำนองสั้น กะทัดรัด ไปจนถึงทำนองที่ยาวและสลับซับซ้อน องค์ประกอบในลายของโปงลาง มีอัตราจังหวะช้า ปานกลาง เร็ว มีกลุ่ม               ตัวโน้ต 5 เสียง คือ โด เร มี ซอล ลา มีลูกตก 2 ลูกตก คือ เสียง ลา และเสียง มี ลายของโปงลางมีรูปแบบกระสวนจังหวะ               ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละลาย มีเทคนิคของการบรรเลงในการแบ่งมือในการตีโปงลางโดยใช้มือซ้ายเคาะเสพ มือขวาตีดำเนินทำนอง และการตีสลับมือซ้ายมือขวา มีคนตีเสียงประสาน (คนเสพ) คอยควบคุมจังหวะให้ผู้บรรเลงดำเนินทำนองพร้อมทั้งบรรเลงรวมกับเครื่องดนตรีประเภทอื่นคือ พิณ แคน โหวด และเครื่องประกอบจังหวะของดนตรีพื้นบ้านอีสาน

  • Abstract
  •    This research aimed to study classification of melodies, and elements of Pong Lang songs. The study of related data was used for methodology. Data of the purposive sample were collected from 3 groups of people, comprising: 1) 6 people of Isan music experts, 2) 6 people of Isan musicians, and 3) 10 people of other informational contributors. The instruments for research included forms of surveying, observing, and interviewing. The descriptive analysis was used for research report.
        The results were that classification of melodies and elements in the Pong Lang songs was divided into 3 groups: 1) a basic level of songs as a group of Lai Yai. It had a short and compact melody such as Lai Pong Lang, Lai Toei, Lai Toei Khong, Lai Toei Phama, Lai Namtontaad, Lai Noksai Binkhamthung, Lai Lom phadphrao, Lai Lom Phadphai and Lai Mangphu Tomdok; 2) a middle level of songs as songs for performance. This group had its identity melody in side of lifestyle, tradition and culture of each area, which included Lai Phutai (Phutai Renu, Phutai Kalasin, Phutai Sakon and Muay Boran), Lai Toei (Toei Huanontan, Toei Kiao, Toei Dueanhah), Lai Lam Phloen (Mak Kupkaeb Lamphloen, Kalasin Lamphloen, Sarakham Lamploen, Manora Lennam and Sangsinchai), and Lai Zoeng (Zoeng Bangfai, Zoeng Kapo, Zoeng Yaekhai Moddaeng, Zoeng Klongtum, Zoeng Kratipkhao and Zoeng Sawing); and 3) a high level of songs (solo) was a group of Lai Yai and Lai Sudsanaen. It had a long and complicated melody and also a fast rhythmic pattern such as Lai Katenkon, Lai Laiwua Khuenphu and Lai Sudsanaen.The analytical results of a basic style category, middle style category and high style category are considered to be in the group of Siang Lai Yai style and Sud Sa Nan style having melodies ranging from short and compact melody to long and complex one. The composition of the Pong Lang styles is of slow, moderate, and quick tempos. There is a group of 5 tones which are Do, Re, Mi, Sol, and La. There are 2 types of Look Tok tones, namely La tone and Mi tone. Each style of the Pong Lang songs has a unique rhythmic pattern. There are techniques of separating hands in playing the Pong Lang songs by using the left hand side to tap while the right hand side to beat for conducting a melody and then switching hands for tapping and beating. There has to be a person who controls the Pong Lang’s harmony (Khon Sep) by conducting the tempos for musicians as well as plying music with other musical instruments such as Phin, Khaen, Vod and other accompanying Isan musical instruments.

    Download Full Paper: