Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา : การวิจัยทฤษฎีฐานราก Enhancing a Peace Culture in Schools: A Grounded Theory Study
Enhancing a Peace Culture in Schools: A Grounded Theory Study

[เปิดดู 132 ครั้ง]

อาภัสรา สีดอนเตา ดาวรุวรรณ ถวิลการ และ วัลลภา อารีรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎีการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา โดยใช้วิธีการวิจัยทฤษฎีฐานราก พื้นที่วิจัย คือ เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ของรัฐแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่เกิดปัญหาความขัดแย้งภายในสถานศึกษา ผู้วิจัยพัฒนาเครื่องมือวิจัยเป็นแนวคำถามในการสัมภาษณ์และให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินก่อนนำไปใช้สัมภาษณ์จริง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ที่อยู่ในปรากฏการณ์หลักในสถานศึกษา โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง คือ ผู้บริหาร 3 คน ครู 20 คน ผู้ปกครอง 5 คน นักเรียน 15 คน และศึกษานิเทศก์ 3 คน รวมทั้งหมด 46 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแปลความหมายข้อมูลตามรูปแบบเชิงระบบของ Strauss & Corbin โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม ATLAS.ti ช่วยจัดระบบข้อมูลและพัฒนาสู่การเสนอข้อสรุปเชิงทฤษฎี
         ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษามีข้อสรุปเชิงทฤษฎี ดังนี้ 1) การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาเป็นกระบวนการป้องกัน แก้ไขและเยียวยาฟื้นฟูการเกิดความขัดแย้งในสถานศึกษา การเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษา แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ด้านโครงสร้าง และด้านจิตใจ 2) วิธีเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม                 ในสถานศึกษา จำแนกได้ 5 ลักษณะ คือ (1) สร้างแรงจูงใจ (2) มีส่วนร่วม (3) สนับสนุนทรัพยากรและสารสนเทศที่จำเป็น               (4) มอบหมายงาน และ (5) พัฒนาศักยภาพครู 3) เงื่อนไขเชิงสาเหตุของการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรมในสถานศึกษาเกิดขึ้นจากเงื่อนไขภายนอกและเงื่อนไขภายในโรงเรียน 4) ยุทธศาสตร์การทำงานควรอยู่ในลักษณะของการปรับกระบวนทัศน์การจัดการเรียนรู้ การจัดการความรู้ เพื่อรวบรวม วิเคราะห์และจัดระบบความรู้ในการเสริมสร้างสันติวัฒนธรรม 5) การใช้ยุทธศาสตร์การทำงานดังกล่าวก่อให้เกิดผลลัพธ์ทั้งที่เป็นศักยภาพที่เกิดขึ้นในตัวครูและส่งผลต่อประสิทธิผลขององค์การ และ 6) ผลสืบเนื่องที่เกิดขึ้นจำแนกได้เป็นระดับบุคคลและระดับองค์การ

  • Abstract
  •     This research aims to offer theoretical conclusions of enhancing a culture of peace in schools using grounded theory as the research methodology. The school that looked consistent with the objective of the study was a large secondary school located in northeastern Thailand, where the conflict problem occurred within the school. The research interview guide was developed into research questions and was assessed by the experts prior to the actual interviews. Data were collected by in-depth interviews. The main informants selected by purposive sampling were those who encountered the main events in the schools including 3 administrators, 20 teachers, 5 parents, 15 students, and 3 educational supervisors, respectively totaling 46 people. To analyze the data, this author followed the systematic approach of Strauss and Corbin
         Results of the study found that enhancing a culture of peace in schools had the following theoretical conclusions. 1) Strengthening the culture of peace in educational institutions is a process of prevention, correction, remedy and rehabilitation of conflicts in schools. Strengthening the culture of peace in schools was divided into 2 types: structural and psychological. 2) An approach to strengthening the culture of peace in schools can be classified into 5 characteristics: (1) creating motivation, (2) participation,                         (3) supporting the necessary resources and information, (4) assigning work, and (5) developing teacher’s potential. 3) The causal conditions of building a culture of peace in schools arises from external conditions and conditions within the school. 4) The operating strategy should be in the form of a paradigm shift in learning and knowledge managements in order to collect, analyze, and organize the knowledge system for enhancing a culture of peace. 5) The use of the above mentioned strategy resulted in both potential outcomes occurred in the teachers and forwarding the effectiveness of the organization. And 6) the consequences happened were classified into individual and organizational levels.

    Download Full Paper: