Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับ บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครู

[เปิดดู 140 ครั้ง]

อุรสา พรหมทา และ สมชาย วงศา

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์ คณะครุศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จำนวน 25 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ มีค่าเท่ากับ 84.75/89.07 และประสิทธิผลเท่ากับ 0.72 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ รายวิชาความเป็นครูอยู่ในระดับมากที่สุด
     

    คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้าน ; บทเรียนบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ ; รายวิชา       ความเป็นครู  

  • Abstract
  •       The purposes of this research were: 1) to study the efficiency and effectiveness of the instructional management using the flipped classroom model together with the lessons on social networks, 2) to compare  learning achievement of students who learned by instructional management using the flipped classroom model together with lessons on social networks, and 3) to study satisfaction of students with the instructional management using the flipped classroom model together with lessons on social networks. The target group as selected by purposive sampling was 25 first year students at the undergraduate level, who studied in the first semester of academic year 2017 in the industrial arts program, Faculty of Education, Mahasarakham Rajabhat University. The instruments used were: 1) lessons on social networks, 2) learning management plans based on the flipped classroom instructional model,             3) a learning achievement test, and 4) a satisfaction questionnaire. The findings revealed as follows: 1) the efficiency index of the flipped classroom instructional management together with lessons on social networks was equal to 84.75/89.07 and the effectiveness index was equal to 0.72; 2) the learning achievements of students between before and after learning were significantly different at the .01 level; and 3) the students were satisfied with instructional management using the flipped classroom together with lessons on social networks in the ‘Self-Actualization for Teachers’ course at the highest level.

    Keywords :  Instructional Management Using the Flipped Classroom Model; Lessons on Social Networks ; Self-Actualization for Teachers’ Course

    Download Full Paper: