Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การประเมินผลโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
Evaluation of a Health Promotion Program for the Elderly, Takhiantia Sub-district Municipality, Bang-lamung District, Chonburi Province

[เปิดดู 175 ครั้ง]

ณัฐวรรณ แย้มละมัย และ สุณี หงษ์วิเศษ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต เก็บข้อมูลจากประชากร คือ ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 180 คนและบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 20 คน รวม 200 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการวิจัย พบว่าความคิดเห็นเกี่ยวกับผลดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เทศบาลตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง  จังหวัดชลบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ = 4.24, = 0.27) เมื่อจำแนกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม  ค่าเฉลี่ยสูงสุด (µ = 4.25,= 0.40) รองลงมาคือด้านผลผลิต (µ = 4.24,= 0.38) ด้านกระบวนการ           (µ = 4.24,  = 0.34) และด้านปัจจัยนำเข้า (µ = 4.23,= 0.42) ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการประเมินผลด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม พบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก  ด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับความเหมาะสมของทรัพยากรการดำเนินโครงการ และด้านการสนับสนุน มีความเหมาะสมในระดับมาก ด้านกระบวนการในเรื่องการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องในระดับมาก และด้านผลผลิตเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมีการดูแลและการให้ความรู้ด้านสุขภาพและจิตใจ มีความเหมาะสมในระดับมาก  

    คำสำคัญ : การประเมินผลโครงการ ; ส่งเสริมสุขภาพ ; ผู้สูงอายุ ; รูปแบบซิปป์

  • Abstract
  •       This study aimed to evaluate the implementation of the elderly health promotion program, Takhiantia Sub-district Municipality, Bang-lamung district, Chonburi province through the use of CIPP model comprising 4 aspects: context or environment, inputs, process, and outputs. Data were collected from the population of 180 elderly people who participated in the activity, and 20 staff members who participated in the activity totaling 200 people. The instrument used in data collection was a 4 point rating scale questionnaire which had the reliability coefficient of 0.70. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, and standard deviation.
         Findings of the study found that the opinion on the result of implementing the elderly health promotion program, Takhiantia Sub-district Municipality, Bang-lamung district, Chonburi province as a whole was at high level (µ = 4.24, = 0.27). When classified by individual aspects the aspect of context or environment gained the highest mean score (µ=4.25, = 0.40), followed by the aspects of outputs     (µ = 4.24, =0.38), process (µ = 4.24, = 0.34), and inputs (µ = 4.23,= 0.42), respectively. In addition, the result of evaluating the context or environment found that it was appropriate at high level. Inputs on the appropriateness of the project implementation resources and the support were at high level. The process of promoting activity to be congruent with the objectives of the project was found at high level. The outputs of promoting the elderly people’s health by means of caring and providing health and mental knowledge to them were found appropriate at high level.

    Keywords : Project Evaluation ; Health Promotion ; Elderly People ; CIPP Model

    Download Full Paper: