Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

พลวัตการนับถือผีของกลุ่มชาติพันธ์ลาวบ้านเนินสะอาดในบริบทสังคมสมัยใหม่
Spirit Worship Dynamics of the Lao Ethnic Group in Ban Noen Sa-aad Village In the Context of Modern Society

[เปิดดู 125 ครั้ง]

อธิราชย์ นันขันตี

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ความเชื่อและพิธีกรรมการนับถือผีของชาวบ้านเนินสะอาด ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และ 2) บทบาทและความสำคัญของการนับถือผีของชาวบ้านเนินสะอาด ตำบลนาราชควาย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม  การสัมภาษณ์เชิงลึก 4 กลุ่ม คือผู้นำพิธีกรรม จำนวน 4 คน ปราชญ์ท้องถิ่น จำนวน 5 คน ผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมพิธีกรรม 10 คน นักศึกษาที่เคยเข้าร่วมพิธีกรรม 10 คน รวมทั้งหมด 29 คน และนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ชาวบ้านเนินสะอาด สืบทอดความเชื่อเรื่องผีมาช้านาน แรกเริ่มตั้งชุมชนได้ตั้งหอปู่ตาไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของชุมชนเพราะเชื่อว่าเป็นทิศแห่งความเจริญรุ่งเรืองและคอยปกปักรักษาผู้คนในหมู่บ้าน ทำให้เกิดความสงบสุข ปฏิบัติตามจารีตประเพณี ในระดับตระกูลนั้นชาวบ้านนับถือผีเชื้อ มี 2 ตระกูล คือ ไตรยะถา และ อาษาวัง ในระดับครอบครัวนับถือผีบ้านผีเฮือนซึ่งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไปลามาไหว้ บอกกล่าว เซ่นบวงสรวง ในไร่นามีผีตาแฮกคอยดูแลต้นข้าวและผลผลิตให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมหาวิทยาลัยนครพนมได้ก่อตั้งขึ้น ทำให้บ้านเนินสะอาดมีความคึกคักเพราะผู้คนในระดับอุดมศึกษาเข้ามาอาศัยในชุมชน ชาวบ้านได้ปรับเปลี่ยนอาชีพเพื่อรองรับประชากรที่เข้ามาใหม่ ซึ่งทำให้การประกอบพิธีกรรมการนับถือผีเปลี่ยนแปลงไปเพื่อตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาใหม่ในสังคม เช่น ของหาย            ข้อขัดแย้งเรื่องที่ดิน ปัญหาที่เกิดจากความเครียดของนักศึกษา ปัญหาด้านการเรียน ปัญหาความรัก ปัญหาค้าขายเป็นต้น และ 2) บทบาทและความสำคัญของการนับถือผี ประกอบด้วย 2.1 บทบาทต่อการรักษา ในปัจจุบันชาวบ้านมีความรู้ด้านการแพทย์มากขึ้น  แต่มุมมองและการเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของความเจ็บป่วยยังคงมีกรอบความคิดของอำนาจเหนือธรรมชาติทำให้ชาวบ้านบางคนเข้ามาพึ่งอำนาจของผีแม้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้ผลแต่สิ่งที่พบ คือ ความรู้สึกสบายใจ คลายกังวล  2.2 บทบาทต่ออาชีพ ในปัจจุบันชุมชนบ้านเนินสะอาดมีผู้คนหลากหลายอาชีพ เช่น ค้าขาย ช่างเสริมสวย ซ่อมรถ คนเหล่านี้บนบาน ขอพึ่งบารมี เพื่อขอให้ประสบผลสำเร็จจากการทำธุรกิจ 2.3 บทบาทต่อการเดินทาง ชาวบ้านมักบนบานเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจต่อเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดคะเนล่วงหน้าได้ ทำให้เกิดกำลังใจที่ดี 2.4 บทบาทต่อการจัดระเบียบและควบคุมทางสังคม การยึดถือจารีตประเพณี ข้อห้าม หลักธรรมทางพุทธศาสนามาปฏิบัติใช้ โดยผีปู่ตาเป็นผู้ควบคุมลงโทษผู้ที่กระทำผิด ทำให้เห็นได้ว่าชาวบ้านเนินสะอาดยังคงนับถือผีเพื่อธำรงวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนสืบไปภายใต้บริบท เงื่อนไข ปัจจัยของชุมชนที่เป็นพลวัตอย่างต่อเนื่อง

    คำสำคัญ : พลวัตการนับถือผี ; ชาติพันธุ์ลาว ; สังคมสมัยใหม่

  • Abstract
  •     This research aims to study: 1) the beliefs and rituals, and 2) the role and importance of spirit worship of Ban Noen Sa-aad villagers, Na Ratchakhwai sub-district, Mueang district, Nakhon Phanom province. The research is qualitative, which was conducted by gathering data from documents and field work. In-depth interviews were conducted in 4 groups of people with 4 ritual leaders, 5 local gurus, 10 persons having experience in joining the ritual, and 10 students having experience in the ritual. Analytical results were presented using descriptive analysis.
        The research yielded the following results: 1) Ban Noen Sa-aad villagers have had a long history of spirit beliefs. It began by setting up an ancestor tower in the northeastern direction of the community. It was believed that doing so would bring prosperity into their life and protect the people in the village. According to the customary practice at lineage level, villagers worshipped 2 spirit lineages: one was Tri-Ya-Tha and the other was Aa-Saa-Wang. At family level, household spirits were strictly respected. Villagers paid respect when greeting and leaving, notified and offered them their sacrifice. On the farm, there was a Ta-Haek spirit looking after the rice plant and crop to be abundant. When Nakhon Phanom University was founded, Ban Noen Sa-aad village was vibrant with people in higher education coming to live in the community. This event resulted in the career change of the locals to accommodate the incoming population. The ritual of spirit worship has changed in response to the need and the new social problem resolution. 2) The role and importance of spirit worship consisted of the following. 2.1 The role towards treatment. The villagers currently had more medical knowledge, but their perspective and understanding about the causes of illness still remained with supernatural power. It made some villagers rely on the power of spirits. Although it could not be proved that it would work, but it would give them feeling of comfort and relaxation. 2.2 The role towards careers. Currently, people of various occupations came to rely on the power of spirits to succeed in doing their business, such as trading, beauty salon and car repairs. 2.3 The role towards travel. Villagers tended to pray to spirits for some morale when facing unpredictable events. 2.4 The role towards social organizing and controlling. The customary practices of taboo and Buddhist principles were under the control of punishment from ancestors’ spirits for the offense. This shows that the spirit worship of Ban Noen Sa-aad villagers still successively helps maintain the community identity under the community context, conditions and factors that are dynamic.

    Keywords : Spirit Worship Dynamics ; Lao Ethnic Group ; Modern Society

    Download Full Paper: