Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

บ้านภู : อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับการบริหารการพัฒนาในบริบท การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน
Ban Phu : The Phutai Ethnic Identity and Development Administration In the Context of Sustainable Cultural Tourism

[เปิดดู 166 ครั้ง]

พงศ์วิชญ์ เขียวมณีรัตน์ สพสันติ์ เพชรคำ ชนินทร์ วะสีนนท์ และ ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของชุมชนผู้ไททั้งในด้านภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การเมือง สังคมวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทบ้านภู 2) การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนของหมู่บ้านภู 3) รูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับบริหารการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมบ้านภูที่ยั่งยืน โดยการสังเกตการณ์ทั้งแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก และการประชุมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้รู้ 10 คน ผู้ประกอบการท้องถิ่น 40 คน และผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 25 คน นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความถูกต้องด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่ตั้งไว้ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ และการสังเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) บ้านภู ตำบลบ้านเป้า อำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ที่ราบสูงเนินเขา “หินเหล็กไฟ” ประกอบด้วย กลุ่มคนชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านภูมีสำนึกในความเป็นอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทอย่างชัดเจน ทั้งเรื่อง วิถีชีวิตชุมชน ภาษาผู้ไท เครื่องแต่งกายชุดผู้ไทสีน้ำเงินแดง อาหาร เรื่องราวประวัติศาสตร์ ฐานเรียนรู้ 6 ฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ลานวัฒนธรรมผู้ไท การฟ้อนผู้ไท และการผลิตสินค้าและบริการของชุมชน 2) ในด้านจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชาวบ้านภูมีการปรับตัวโดยนำอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของตนเองเป็นจุดขายในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจากการจัดการตนเองผ่าน “การทำวัฒนธรรมให้เป็นสินค้า” หรือ “วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว” และการจัดตั้งองค์กรและกระบวนการอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ 3) รูปแบบอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ผู้ไทกับการบริหารการพัฒนาในบริบทการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่ยั่งยืน ประกอบด้วย การจัดตั้งองค์กร การจัดทำยุทธศาสตร์สำนึกทางชาติพันธุ์ การนิยามความเป็นผู้ไท การสร้างและคัดเลือกสัญลักษณ์หมู่บ้าน การนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว และการนำเสนออัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ภายใต้การมีปฏิสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว

  • Abstract
  •     The objectives of this study were to investigate: 1) the general condition of the Phutai community that includes geography, economy, politics, society, culture and the Phutai ethnic identity in Ban Phu village, 2) the management of cultural tourism by the community of Ban Phu millage, and 3) the model of Phutai ethnic identity and development administration for leading to be a village of sustainable cultural tourism. Participatory and non-participatory observation, in-depth interview with the key performants, and workshop were employed. The group of key informants consisted of 10 knowledgeable people, 40 local entrepreneurs, and 25 general information providers. The data were checked for accuracy by means of triangulation. Data were analyzed according to the objectives indicated, and the findings of the study were presented in the form of descriptive analysis and synthesis.
        The findings were as follows: 1) Ban Phu village was in Ban Pao sub-district, Nong Sung district, Mukdahan province. It is located on the highland hill named ‘Hin Lek Fai’. Most people in this village constituted a Phutai ethnic group. Ban Phu villagers were obviously conscious of being in a touching of Phutai ethnic such as the tribal way of life, Phutai language, blue/red costumes, food, history, six learning bases according to the Philosophy of Sufficiency Economy, Phutai cultural yard, Phutai dancing, and manufacture of products and services of the community. 2) The management of cultural tourism. The people of Ban Phu village have adapted their ethnic identity to be a selling point for cultural tourism through “commoditization of culture” or “culture for tourism” and have established the organization and process of ethnic identity. 3) The model of Phutai ethnic identity and development administration in the context of sustainable cultural tourism consists of establishment of an organization, making a strategy of ethnic consciousness, giving a definition of Phutai, creation and selection of the village symbol, presentation of Phutai ethnic identity in the context of cultural tourism, and presentation of Phutai ethnic identity under the interaction with the tourists.

    Download Full Paper: