Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ประสบการณ์การปรับตัวของเยาวชนไทยที่ย้ายถิ่นติดตามมารดามาอาศัย ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
The Adaptation Experience of Thai Youths Immigrated With their Mothers to Live in Stockholm, Sweden

[เปิดดู 200 ครั้ง]

สุนิสา สุขีอัตตะ จิระสุข สุขสวัสดิ์ และ นิรนาถ แสนสา

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปรับตัวของเยาวชนไทยที่ย้ายถิ่นติดตามมารดามาอาศัย ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน  ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เยาวชนไทยที่มีอายุระหว่าง 11-18 ปี อาศัยอยู่ ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดนไม่ต่ำกว่า 1 ปี มีบิดาบุญธรรมเป็นชาวสวีเดน สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ดี และยินดีเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และ  แบบบันทึกภาคสนาม ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์บริบทและเนื้อหา
        ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์การปรับตัวประกอบด้วย 4 ประเด็นหลัก ดังนี้ (1) ภาวะจิตใจก่อนย้ายถิ่น แบ่งเป็น 3 ประเด็นรอง คือ 1) ไม่อยากจากเมืองไทย 2) ห่วงใยคนข้างหลัง และ 3) เรื่องราวเกี่ยวกับอนาคตของตนเอง (2) อุปสรรคที่พบเจอ แบ่งเป็น 9 ประเด็นรอง คือ 1) คิดถึงเมืองไทยที่จากมา 2) รู้สึกด้อยค่าในสายตาคนอื่น 3) มีปัญหาด้านภาษาและการสื่อสาร 4) ครอบครัวคือคนแปลกหน้า 5) การไม่คุ้นเคยกับสังคม ผู้คน และวัฒนธรรม 6) ท้อแท้สิ้นหวังกับการเรียนที่ยาก 7) ขาดเพื่อนพึ่งพายามทุกข์ใจ 8) อาหารที่ไม่คุ้นลิ้น และ 9) ไม่คุ้นชินกับภูมิอากาศ (3) การปรับตัวเข้ากับสังคมใหม่แบ่งเป็น 5 ประเด็นรอง คือ 1) เปิดใจพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง 2) เคารพและสร้างคุณค่าให้ตนเอง 3) มีทักษะการใช้ชีวิตในสังคมใหม่    4) มีกิจกรรมยามว่างเพื่อคลายทุกข์และหารายได้เสริม และ 5) ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ประเด็นหลักสุดท้ายคือ (4) เป้าหมายของชีวิตแบ่งเป็น 3 ประเด็นรอง คือ 1) การศึกษาเป็นเรื่องสำคัญ 2) เอื้อมมือคว้าปริญญา และ 3) กลับมาพัฒนาบ้านเกิด

  • Abstract
  •    The purpose of this qualitative research was to explore the adaptation experience of Thai youths who immigrated with their mothers to live in Stockholm, Sweden. The key informants of research were 7 Thai youths, who immigrated with their mothers to live in Stockholm, Sweden, purposively selected based on their age of 11 – 18, stayed in Sweden not lower than one year, had a Swedish adoptive father, were able to communicate in Thai and willing to participate in this research. The employed research instruments were a semi–structured interview form, a participatory observation recording form, and a field recording form. Analysis of data was conducted using context and content analyses. Findings of the research revealed that the adaptation experience comprised 4 main themes: (1) state of mind prior to migration, which included 3 sub-themes: 1) not wanting to leave Thailand, 2) missing and caring for those who were left behind and 3) being anxious about the future. (2) The confronted obstacles which were divided into 9 sub-themes: 1) longing to be back to Thailand, 2) feeling inferior in the eyes of others, 3) having problems in using language and communication 4) family members being strangers, 5) being unfamiliar with the society, people and culture, 6) feeling hopeless and frustrated with difficulty in learning, 7) lack of friends to rely on while suffering, 8) food eaten being unfamiliar with tongue and 9) being unfamiliar with the weather. (3) The adaptation to new society which was divided into 5 sub-themes: 1) opening one’s mind and being ready for adaptation to the changes, 2) building self-respect and self-esteem, (3) having skills of life in the new society, 4) having leisure time activities for recreation and extra incomes, and (5) receiving helps from different agencies. (4) The goal of life which was divided into 3 sub-themes: 1) education being really important, 2) achieving for education degree, and 3) back to develop their homeland.

     

    Download Full Paper: