Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

พุทธนวัตกรรมการพัฒนาระเบียบวินัยของเยาวชนไทย

[เปิดดู 139 ครั้ง]

สามารถ บุญรัตน์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิเคราะห์พุทธนวัตกรรมที่มีผลต่อการพัฒนาระเบียบวินัยของเยาวชนไทย จากการศึกษาพบว่า สถานการณ์ของเยาวชนไทยมีผลเชิงลบต่อการพัฒนาประเทศ เพราะเยาวชนไทยในปัจจุบันมิได้ให้ความสนใจต่อประเด็นเรื่องระเบียบวินัยมากนัก ในขณะเดียวกันพระพุทธศาสนามีนวัตกรรมที่สำคัญในการพัฒนาความมีระเบียบวินัยของเยาวชนด้วยการมุ่งเน้นคำสอนที่เกี่ยวกับหลักเบญจศีล หรือศีลธรรม เรื่องอบายมุข เรื่องมิจฉาวณิชชา เรื่องการงดเว้นจากอคติ โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การวางระบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันครอบครัวกับสถาบันพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการถือปฏิบัติตามธรรมเนียมที่กำหนดไว้ชุมชน ขั้นที่ 2 การเตรียมการวางรากฐานสำหรับองค์ความรู้ด้านระเบียบวินัยซึ่งเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่จะส่งเสริมให้สถาบันทางพระพุทธศาสนาทำหน้าที่ในการฝึกฝนอบรม ขัดเกลาให้มีความรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร อะไรดี อะไรไม่ดี เป็นต้น ขั้นที่ 3 การป้องกันการละเมิดระเบียบวินัยที่จะต้องเสริมสร้างบทบาททางสังคมแก่พระสงฆ์ในการตักเตือน ชี้นำ ชี้แนะผลของการละเมิดระเบียบวินัย ขั้นที่ 4 การปลูกฝังระเบียบวินัยให้กับเยาวชนไทยโดยเริ่ม จากครอบครัวเป็นหลักใหญ่ที่สามารถปลูกฝังจากจุดเล็กอย่างต่อเนื่องจนสามารถเป็นนิสัยประจำตัวได้ในอนาคต และขั้นที่ 5 การรักษาระเบียบวินัยให้กับเยาวชนไทยที่ทุกภาคส่วนจะต้องเข้าใจบริบทเยาวชนทั้งที่มีระเบียบวินัยและผู้ที่ไม่มีระเบียบวินัยซึ่งจะต้องใช้คำสอนทางพระพุทธศาสนาปรับแต่งพฤติกรรมในทางที่ดีผ่านการออกแบบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาให้มากขึ้น เพราะฉะนั้น การพัฒนาระเบียบวินัยเยาวชนอาจจะธรรมเนียมที่จะต้องถือปฏิบัติกันในชุมชนนั้นๆ ผ่านการวางระบบความสัมพันธ์ระหว่างครอบครับกับสถาบันทางพระพุทธศาสนา เช่น การกำหนดอายุครบบวชสามเณร เป็นต้น อีกทั้งการพัฒนาศักยภาพของพ่อแม่มือใหม่ในการดูแลเยาวชนให้สามารถปฏิบัติตามกรอบระเบียบวินัยที่ดี เยาวชนจึงจะสามารถปรับแต่งชีวิตให้สอดคล้องกับข้อกำหนดทางคำสอนของพระพุทธศาสนา

  • Abstract
  •    According to the investigation to analyze Buddhism innovations that affect the development of discipline of Thai youth, it was found that the situation of Thai youth had a negative effect on the development of the country. This is because the Thai youth of today do not pay much attention to the issue of discipline. At the same time, Buddhism has an important innovation in development of youth’s discipline by focusing on teachings about the five precepts or morals about all vices, trades that should be avoided by laymen, biases that should be abstained. The Buddhism innovation for developing the youth’s discipline can be divided into 5 steps. Step 1 – laying the relationship system between the family institutions and the Buddhism institution, especially by following the traditional practice defined in the community. Step 2 – preparing the foundation for discipline knowledge, which is the duty of families to encourage the Buddhism institution to practice the training of purifying the youth with knowledge of what should be done or not done or what is good or not good. Step 3 – strengthening the social role of monks in preventing disciplinary offence by warnings, giving directions, and guiding the effects of offence. Step 4 – cultivating discipline for Thai youth by mainly starting from the small points in the family until it becomes a habit in the future. Step 5 – maintaining discipline in Thai youth through the increase of designing Buddhism activities based on Buddhism teachings, which requires all sectors to understand the contexts of the youth, both disciplined and undisciplined ones before any adjustment of their behaviors in a better way is made. Therefore, the development of the youth’s discipline may be customary in the community through the system of relationship between the families and the Buddhism institution, such as the age limit for the ordination of novices, etc.  In addition, the potential of novice parents to care for the youth for following the good discipline needs to be developed in order that the youth will be able to adjust their lives to conform to the doctrines of Buddhism.

    Download Full Paper: