Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

คุณลักษณะความเป็นองค์กรที่ดีของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร ประจำตำบล ตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
Good Organizational Characteristics of the Sub-district Agricultural Technology Transfer and Service Center in Wiangsa-aad Sub-district, Phayakkhaphum Phisai District, Mahasarakham Province

[เปิดดู 157 ครั้ง]

วิทวัส บัวบาน พัฒนา สุขประเสริฐ และ สุวิสา พัฒนเกียรติ

  • บทคัดย่อ
  •    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของเกษตรกรผู้ใช้บริการของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 2) คุณลักษณะความเป็นองค์กรที่ดีของศูนย์บริการฯ ประชากร คือ เกษตรกรในตำบลเวียงสะอาด อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,127 ครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตามสัดส่วน จำนวน 278 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ  เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด หาความสัมพันธ์ของตัวแปรโดย  ใช้วิธี Pearson Product Moment
       ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 53.20 อายุเฉลี่ย 42.82 ปี ติดต่อกับศูนย์บริการฯเป็นเวลา 5 ปี 2) คุณลักษณะความเป็นองค์กรที่ดีของศูนย์บริการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้งในมุมมองจากสภาพการณ์ตามความเป็นจริงในปัจจุบัน ระดับความสำคัญ และความมั่นใจในการพัฒนา ( =4.15, 4.14, 4.12) ตามลำดับ โดยที่ประสบการณ์ของเกษตรกรในการติดต่อกับศูนย์บริการฯ มีความสัมพันธ์กับด้านบุคคล และระบบงานของศูนย์บริการ แต่ว่า  ไม่มีความสัมพันธ์ในด้านโครงสร้างของศูนย์บริการฯ

  • Abstract
  •     The objectives of this study were to investigate: 1) personal background data of farmers who used the services of the Agricultural Technology Transfer and Service Center (ATTSC) in Wiangsa-add district, Phayakkhaphum Phisai district, Mahasarakham province, 2) good organizational characteristics of ATTSC. Population was farmers in Wiangsa-aad sub-district, Phayakkhaphum Phisai district, Mahasarakham province who lived in 1,127 households of their own. A sample of 278 was selected by proportional stratified random sampling technique. Data were collected by an interview guide. Descriptive statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, maximum and minimum values were used, and Pearson’s product moment correlation coefficient was used to determine a relationship of the variables.

        The results of study revealed as follows: 1) Most of the farmers or 53.20% were females at the average age of 42.82 and contacted ATTSC for 5 years. 2) The overall good organiza  tional characteristic of ATTSC was at high level and it was also at high level in the perspectives from the current actual situation, priority, and confidence in development, respectively ( =4.15, 4.14, 4.12). The farmers’ experience in contact with ATTSC had relationship with the personnel aspect and the work system aspect of ATTSC but had no relationship with the structure aspect of ATTSC.

    Download Full Paper: