Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

อุปสรรคการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน
Barriers to Care for Depressed Older People in the Community

[เปิดดู 134 ครั้ง]

วิรมณ กาสีวงศ์ และ สุประวีณ์ คงธนชโยพิทย์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน 2) อุปสรรคในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชน ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า และผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มและการสังเกต โดยใช้แนวคำถามกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม และแบบบันทึกการสังเกต  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา      ผลการวิจัยพบว่า 1) การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีการคัดกรองภาวะซึมเศร้า  แต่ส่วนมากไม่พบผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า และเจ้าหน้าที่ไม่ได้มีการดูแลเฉพาะเรื่องซึมเศร้า เป็นการดูแลทั่วไป ส่วนผู้ดูแลในชุมชนไม่ได้ดูแลปัญหาซึมเศร้าในผู้สูงอายุแม้จะสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ 2) อุปสรรคการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบว่า ขาดความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าร่วมกับมีภาระงานมาก อุปสรรคด้านผู้ดูแลคือ ไม่รู้จะดูแลอย่างไร และอุปสรรคด้านผู้สูงอายุคือ ไม่รู้ว่าจะดูแลตนเองอย่างไร คิดว่าไม่มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา

  • Abstract
  •     The purposes of this qualitative research were to investigate: 1) the care for depressed older people in the community, and 2) the barriers to care for depressed older people in the community. The key informants were public health officers, caregivers of older people with depression and depressed older people. Data was collected by focus group discussions and observation. A semi-structured questioning guide to focus group discussions and an observation record form were used. Data was analyzed through content analysis.
        Findings of the study revealed as follows. 1) The public health care officers who cared for the depressed older people had screened them for those with depression but most of the older people were found having no depression. And the public health officers did not care merely for the depression matter but care for other matters in general as well. Caregivers in the community did not take care of the depression problems in older people despite the observed abnormalities in them. 2) According to the barriers to care for depressed older people in the aspect of public health officers, it was found that these officers lacked knowledge and experience of care for depressed older people and they had a lot of work to do already. The caregiver’s barrier was in knowing nothing of how to take care of them, and the older people’s barrier was in knowing nothing of how to take care of their own selves. They thought they had no need to be cared. 

    Download Full Paper: