Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลในจังหวัดอุบลราชธานี
Social Welfare Service Needs of Older People in a Sub-district Municipal Area, Ubon Ratchathani Province

[เปิดดู 130 ครั้ง]

ญาณี แสงสาย สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์ นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล และ กิตติยาพร จันทร์ชม

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  เพื่อศึกษาความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี   กลุ่มเป้าหมายคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาคือผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความต้องการบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ  ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.84 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการอ่านแบบสอบถามให้ผู้สูงอายุเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

       ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.3  อายุระหว่าง 60-69 ปีร้อยละ 53.5 สถานภาพสมรสคู่ ร้อยละ 62.6  จบชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 80.0  ไม่ได้ประกอบอาชีพ ร้อยละ 63.2  มีรายได้ไม่เพียงพอ ร้อยละ 43.2 และมีโรคประจำตัวร้อยละ 87.1  2) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความต้องการบริการสวัสดิการสังคมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (μ = 4.33, S.D. = 0.56) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการแก้ไขปัญหาคนจนและด้อยโอกาส (μ  = 4.60,    S.D. = 0.65) และด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (μ = 4.59, S.D. = 0.75) อยู่ระดับมากที่สุด   นอกนั้นอยู่ระดับมาก โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยจากสูงไปหาต่ำดังนี้  ด้านสุขภาพอนามัย (μ = 4.50, S.D. = 0.57) ด้านนันทนาการ (μ = 4.49,                S.D. = 0.77) ด้านการศึกษาและการอบรมอาชีพ (μ = 4.13, S.D. = 0.92) และด้านที่อยู่อาศัย (μ = 3.59, S.D. = 0.90)  การวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุควรมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนและด้อยโอกาส โดยส่งเสริมให้มีการสร้างรายได้และสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน เพื่อให้สนองตอบความต้องการของผู้สูงอายุอย่างแท้จริง

  • Abstract
  •     This study is a survey research used to investigate the needs of social welfare services among the older people in a sub-district municipal area, Ubon Ratchathani province. The target group was selected by simple random sampling. A sample used was 155 older people aged 60 or over, who resided in a sub-district municipal area, Ubon Ratchathani province. The instrument used in data collection was a questionnaire asking personal data and the needs of social welfare service among older people, which had a reliability coefficient of 0.84. Data collection was conducted by reading the questionnaire for the older people to respond. Descriptive statistics of frequency, percentage, and standard deviation were employed to analyze the data.
        Findings of the study revealed as follows. Most of older people or 70.31% were females; 53.5% of them were in the 60-69 age range; 62.6% of them got married; 80.0% of them were primary school graduates; 63.2% of them were unemployed; 43.2% of them had insufficient income; and 87.1% of them had underlying disease. 2) Most of older people had their overall need of social welfare services at high level (μ = 4.33, S.D. = 0.56). When considering as each aspect, it was found that the aspects of solving problems in the poor and the underprivileged (μ = 4.60, S.D. = 0.65) and of safety in life and property (μ = 4.59, S.D. = 0.75) were at the highest level. All other aspects were found at high level as arranged in the following descending order: health and sanitation (μ = 4.50, S.D. = 0.57), recreation (μ = 4.49, S.D. = 0.77), education and vocational training (μ = 4.13, S.D. = 0.92), and residence (μ = 3.59, S.D. = 0.90), respectively. This study has suggested that social welfare services for older people should focus on solving problems in the poor and the disadvantaged by promoting the creation of income and supporting the establishment of a fund to truly meet the needs of older people.  

    Download Full Paper: