Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล
An Evaluation of Graduate Diploma Program in Teacher Profession (Revised 2014), Faculty of Education, Santapol College

[เปิดดู 174 ครั้ง]

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร ภัทราพร ไชยชมภู บงกช เจนชัยภูมิ และ ณัชชารีย์ วิฉายาโรจน์ดำริ

  • บทคัดย่อ
  •      การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล ในด้านบริบทของหลักสูตร ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการใช้หลักสูตร และด้านผลผลิต โดยใช้การประเมินแบบ CIPP Model  ของ Danial L.Stuffle Beam กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 17 คน นักศึกษา จำนวน 90 คน บัณฑิต จำนวน 87 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น 244 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
        ผลการประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2557)                     คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล พบว่า ด้านบริบทของหลักสูตร อาจารย์มีความเห็นว่าเหมาะสม ระดับมาก (=4.37, S.D.=0.60) นักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสมระดับมาก (=4.50, S.D.=0.64) บัณฑิตมีความเห็นว่าเหมาะสมระดับมากที่สุด (=4.52, S.D.=0.60) ด้านปัจจัยนำเข้าของหลักสูตร อาจารย์มีความเห็นว่าเหมาะสม ระดับมาก (=4.15, S.D.=0.60) นักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสม ระดับมาก (=4.48, SD=0.64) บัณฑิตมีความเห็นว่าเหมาะสม ระดับมากที่สุด (=4.52, SD=0.58) ด้านการจัดระบวนการเรียนรู้ อาจารย์มีความเห็นเหมาะสม ระดับมาก (=4.30, S.D.=0.60)  นักศึกษามีความเห็น ระดับมาก (=4.45, S.D.=0.71) ส่วนบัณฑิตมีความเห็น ระดับมากที่สุด (=4.53, S.D.=0.60)  และด้านคุณลักษณะ นักศึกษามีความเห็นว่าเหมาะสม ในระดับมาก (=4.48, S.D.=0.60) บัณฑิต มีความเห็นว่าเหมาะสมในระดับมากที่สุด (=4.56, S.D.=0.55) และผู้ใช้บัณฑิต มีความเห็นในคุณลักษณะด้านวิชาชีพของบัณฑิตอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.59, S.D.=0.57)

  • Abstract
  •      The objective of this study was to evaluate the graduate diploma program in teacher profession (revised 2014) of the Faculty of Education, Santapol College in the aspects of context of the curriculum, inputs, procedure in implementing the curriculum, and production process by applying the evaluation method based on the CIPP Model of Danial L. Stuffle Beam. The target groups as key informants of this study comprised 17 lecturers, 90 university students, 87 graduates, and 50 graduate users, totaling 244 people. The instrument was a 5-rating scale questionnaire. Data analysis was done through the use of computer program to find statistics of mean and standard deviation.
        Findings from the evaluation of graduate diploma program in the aspect of teacher profession (revised 2014) were as follows: According to the lecturers, the context of the curriculum was appropriate at high level (=4.37, S.D.=0.60), while the opinions of students and graduates on the same context aspect were at high level (=4.50, S.D.=0.64) and highest level, respectively (=4.52, S.D.=0.60). In the aspect of program inputs, the lecturers and students had opinion that the inputs were appropriate at high level (=4.15, S.D.=0.60; =4.48, SD=0.64) ), respectively, while the graduates had opinion that the input aspect were at the highest level (=4.52, S.D.=0.58). In the aspect of learning process organizing, the lecturers and students had opinion that it was appropriate at high level (=4.30, S.D.=0.60 ;=4.45, S.D.=0.71), respectively, while the graduates had opinion on this aspect at the highest level (=4.53, S.D.=0.60). , In the aspect of characteristics, the students had opinion on it at high level of appropriateness (=4.48, S.D.=0.60), while the opinions of graduates and graduate users on this aspect were at the highest levels (=4.56, SD=0.55; =4.59, S.D.=0.57) of their respective opinions.

    Download Full Paper: