Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ดนตรีพม่าในการแสดงพระธรรมเทศนา : กรณีศึกษาวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
Myanmar Music in Sermon : Myanmar Saingwaing of Seymiaowzou Band in the Watthaiwattanaram at Thasailuad, a subdistrict of Maesot district in Tak province

[เปิดดู 155 ครั้ง]

สำเริง ปานดิษฐ์, และ รุจี ศรีสมบัติ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวงซายวาย คณะเซ่ยเมี๊ยะโจววัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 2)ศึกษาและวิเคราะห์ดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงพระธรรมเทศนาของวงซายวาย   คณะเซ่ยเมี๊ยะโจว วัดไทยวัฒนาราม ตำบลท่าสายลวด  อำเภอแม่สอด จังหวัดตากการวิจัยเชิงคุณภาพในครั้งนี้ได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยตามหลักมานุษยดุริยางควิทยา ได้เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนาม การสัมภาษณ์ การสังเกต แล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์เรียบเรียงตามลำดับความสำคัญ

        ผลการวิจัยพบว่า 1) นักดนตรีในวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจวฯ ยังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับการสร้างสมบุญกุศล และให้ความเคารพแก่อนันตคุณ 5 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูอาจารย์ และเทพนอกจากการบรรเลงดนตรีแล้ว อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น เวที ฉากหลังเวที แผงกั้นบังเครื่องดนตรี เทคโนโลยีที่ใช้อำนวยความสะดวกในการแสดงต่างๆ ก็มีความสำคัญต่อการแสดงทุกครั้ง เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงซายวายคณะเซ่ยเมี๊ยะโจวฯ ประกอบด้วยซายวาย  มองซาย แต๊ปัตตะลา เชาก์โลงปัต ซะคั่วะ ปาม่า ซีเนวา หย่างกุ๋ย มองจี ซีโด ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่จัดอยู่ในตระกูลเครื่องตีที่เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของมวลวัตถุกับ เครื่องตีที่เสียงเสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นหนังการบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมทางศาสนา จะใช้เพลงประกอบพิธีทั้งหมด 5 เพลง คือ ทูมะชานา  ผยา ตะยา แต็งกา อะลูดอ เม็งกะลา เหย่เจ และ เม็งกะลา บียอ 2) หลังจากที่ได้นำเพลงทั้ง 5 เพลงมาศึกษาวิเคราะห์แล้ว พบว่า มีการใช้ กลุ่มเสียงในระบบเสียง 5 เสียง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียง มี ฟา ซอล ที โดและ กลุ่มเสียง ฟา ซอล ลา โด เรในแต่ละเพลงจะมีการแปรลักษณะจังหวะของทำนองและลักษณะจังหวะของเครื่องกำกับจังหวะไว้อย่างหลากหลายโดยไม่ซ้ำแบบเลย หรือจะมีซ้ำบ้างก็น้อยมาก ลักษณะพื้นผิวของดนตรีเป็นแบบ Heterophonic texture คือ เมื่อเครื่องดนตรีทำนองชิ้นใดกำลังบรรเลง แนวทำนองเพลงอยู่เครื่องดนตรีทำนองชิ้นอื่นก็จะใช้วิธีการแปรทำนองไปด้วย ในการแปรทำนองแต่ละครั้งจะไม่เหมือนเดิม และทำนองจะไม่ถูกเล่นโดยเครื่องดนตรีชิ้นใดชิ้นหนึ่งทั้งเพลง แต่จะผลัดกันเล่นทำนองเป็นบางช่วง ทำนองของเพลง ที่ วิเคราะห์ ทั้ง 5 เพลง จะมีความยาวเสียงไม่เกิน 1 จังหวะเคาะ อันอาจเกิดจากเครื่องดนตรีที่เป็นเครื่องจังหวะที่มีเสียงสั้น อยู่แล้ว และบางครั้งผู้บรรเลงก็จะตัดเสียงให้สั้นลงไปอีกโดยแปลทำนองให้มีจำนวนตัวโน้ตเพิ่มมากขึ้นในเวลาอันจำกัด

    คำสำคัญ : ดนตรีพม่า ; ซายวาย ; เซ่ยเมี๊ยะโจว

  • Abstract
  •     The purposes of this study were:1)to study the Saingwaing(Myanmar orchestra) of the Seymiaowzhou band in  Wat Thaiwattanaram, Tha sailuad, a subdistrict of Maesot district in Tak province,2)to analyze the music of Saingwaing of Seymiaowzhou band, played during Buddhist sermon atWat Thaiwattanaram, Thasailuad, a subdistrice in theMaesot district in Tak province.This qualitative research was conducted according to the principles of ethnomusicology. Field data collection, interview, observation were used in this research and there were analyzed based on priority.

        The results showed that. 1)All of the musicians in Myanmar Saingwaing of Seymiaowzhou band still believe in merit and pay respect for the Five Anan-Ta-Kun; Buddha, Dhamma, Sangha, parents, teacher, and Deva;Besides the music and the instruments, the materials which are not related to music, such as the stage, the backdrops, folding boards, and other technological devices, are all important to the show;Musical instruments of Saingwaingof the Seymiaowzhou band consist of saingwaing, mongsaing, taepattala, chaoklongpat, sakua, pama, seenewa, yangkui, mongji, sido. They are all considered to bePercussion Instruments in Idiophone and Membranophone categories;The Tomachana, Paya Taya Tangka, Aludor Mengkala, Yaejei, and Menggala beeyor are used to play in Buddhist sermon. 2) After thepieces of five music were analyzed, we found that: Two groups of pentatonic scales including the group E F G B C and the group F G A C D notes, were used; In each piece of music, there were the variations in melody and the rhythm of non-pitched percussion instruments in several ways with no repetition or less repetition;This resulted in Heterophonic texture. When one pitched instrument was playing, the other pitched instruments would be vary the melodies; This variation in melodies was not the same each time and the melodies were not provided by only one instrument throughout the whole piece, but through sometimes switching instruments;The melodies in these five pieces of music have a duration of less than one beat, which isderived from the music instruments out short durations. Sometimes,the musician may make duration shorter by adding more notes within the limits of time.

    Keywords : Burmar music ; Saing-waing ; Seymiaowzhou

    Download Full Paper: