Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

สตรีชนชั้นสูงในราชสำนักกับคุณูปการด้านศิลปะการแสดง
Noble Ladies in the Royal Court and Their Contributions To the Performing Arts

[เปิดดู 169 ครั้ง]

เกิดศิริ นกน้อย อุรารมย์ จันทมาลา และ ปัทมาวดี ชาญสุวรรณ3

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทสตรีราชสำนักที่มีคุณูปการต่องานด้านศิลปะการแสดง2)ศึกษาบทบาทของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีคุณูปการงานด้านศิลปะการแสดงโดยมีขอบเขตศึกษาบทบาทของสตรีราชสำนักในสมัยรัตนโกสินทร์ และพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถกับงานด้านศิลปะการแสดง ตั้งแต่ พ.ศ. 2325 – ปัจจุบัน พ.ศ.2559 เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารและเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสังเกต สัมภาษณ์ จากกลุ่มผู้รู้จำนวน 4 คน กลุ่มผู้ปฏิบัติ 15 คน บุคคลทั่วไป 15 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์โดยวิธีพรรณนาวิเคราะห์

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สตรีราชสำนักมีบทบาทกับงานด้านศิลปะการแสดง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ เป็นผู้แสดง มีจำนวน 83 ท่าน เป็นครู มีจำนวน 71 คน เป็นผู้สร้างงาน มีจำนวน 9 ท่าน เป็นเจ้าของคณะละคร มีจำนวน  6 ท่าน และเป็นผู้อุปถัมภ์ มีจำนวน 9 ท่าน ด้วยบทบาทและหน้าที่ของสตรีราชสำนักและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทำให้สตรีได้รับการยอมรับทางสังคมมากขึ้น เป็นผลให้เกิดการสืบทอด คิดค้น ปรับปรุงและสร้างสรรค์ ทำให้ศิลปะการแสดงไม่จำกัดอยู่ในวงแคบอีกต่อไป และมีสตรีราชสำนักจำนวน 6 ท่าน ที่ปรากฏผลงานทั้งทางด้านการอนุรักษ์และการพัฒนา 2) สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเอาพระทัยใส่ในเรื่องศิลปะการแสดง อันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติเป็นอย่างมาก ดังเห็นได้จากทรงเป็นผู้ริเริ่มงานด้านศิลปะการแสดงขึ้นหลายอย่าง ได้แก่ 1)นาฏยศิลป์เพื่อศิลปาชีพ 2)ระบำจตุรภาค 3)นาฏยศิลป์เพื่อวีรชน 4)ฟ้อนดวงเดือน 5) การแสดงโขนพระราชทาน โดยสรุปบทบาทและหน้าที่ของสตรีราชสำนัก ส่งผลให้เกิดคุณูปการด้านศิลปะการแสดง ได้แก่ 1)คุณูปการต่อศิลปะการแสดงด้านการอนุรักษ์ 2) คุณูปการต่อศิลปะการแสดงด้านการพัฒนา

    คำสำคัญ : สตรีราชสำนัก  ; คุณูปการ ; ศิลปะการแสดง

  • Abstract
  •      This research aims at: 1) studying of exact noble ladies who had a significant part to the performing arts, and 2) studying of contribution toward performing arts of noble ladies by constrained to the Rattanakosin period and the royal duties of H.M. Queen Sirikit on performing arts since 1782 – present (2016). This is the Qualitative Research, the information was collected via the means of observation and interview of 4 experts in the subject, 15performers, and 15 general people. The studied documents and information that were collected by thetools of observation and interviews leading to the presentation of a descriptive analysis of the retrieved results.     

        The research outcome suggests that 1)The noble ladies role to the performing arts, which can be divided into 5 different groups: 83 Performers; 71 Lecturers; 9 Producers; 6 Owners of a Drama Troupe and 9 Sponsors. According to the roles of noble ladies and the social changes, the status of female is much more acceptable than before. It is resulting the inheritance, invention, improvement and creativity in performing arts.The accomplishment in conservative and developing performing arts of the 6 noble ladies have been found2) H.M. Queen Sirikit has been intensively paying attention on performing arts which is considered as the national heritage of Thailand. This can be seen by the royal patronage in performing arts such as 1. Dance for the support arts 2. Dance for heroes or volunteer Dramatic Troupe under the patronage of the Queen 3. Jaturapark Traditional Dance 4. FonnDuangDuen 5. The Royal Khon Performance by which summarizing the roles of noble ladies resulting the contribution to performing arts. Namely, 1. The contribution through the conservative performing arts. 2. The contribution through the performing arts.

    Keywords : Noble Ladies  ; Their Contribution ; Performing Arts

     

    Download Full Paper: