Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้าน การใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทย
The Relationship between Language and Ideology in Narrative Discourse of the Group against Violence toward Women in Thai Society

[เปิดดู 173 ครั้ง]

ชูวงศ์ กลิ่นเลขา, สุพัตรา อินทนะ และ วิภาวรรณ อยู่เย็น

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทย โดยศึกษาเรื่องเล่าจากสตรีผู้ถูกกระทำาความรุนแรงขององค์กรช่วยเหลือสตรี จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ มูลนิธิเพื่อนหญิง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรี และศูนย์พึ่งได้จังหวัดขอนแก่น จำานวน 90 เรื่อง ตั้งแต่ พ.ศ.2542-2554 โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ตามแนวทางของวันไดก์ ซึ่งได้เสนอกรอบการวิเคราะห์อุดมการณ์ด้วยหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า Ideological Square และแนวคิดการวิเคราะหก์ ลวธิ ีทางภาษาในการถ่ายทอดอุดมการณ์ด้วยการใช้คำศัพท์ รวมทั้งการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ตามแนวคิดของ จอร์จ เลคอฟฟ์ และ มาร์ก จอห์นสัน
        ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในเรื่องเล่าของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรี ในสังคมไทย คือ การใช้เรื่องเล่าเพื่อถ่ายทอดอุดมการณ์การต่อต้านการใช้ความรุนแรงผ่านมุมมองของผู้เล่าเรื่อง และผู้ถูกเล่า โดยใช้วิธีทางภาษา 2 วิธี ได้แก่ การใช้คำาศัพท์ และการใช้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ผลของการใช้วิธีการทางภาษา พบว่า มีการนำาเสนอภาพลักษณ์ของผู้เล่าเรื่อง และผู้ถูกเล่า 3 วิธี ได้แก่ การนำาเสนอภาพลักษณ์ของกลุ่มต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทยในเชิงบวก การนำาเสนอภาพลักษณ์ของผู้กระทำความรุนแรงต่อสตรีในสังคมไทยในเชิงลบ และการนำาเสนอภาพลักษณ์ของผู้ถูกกระทำจากความรุนแรงด้วยความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ

  • Abstract
  •     The objective of this study was to investigate the relationship between language and ideology in narrative discourse by the group against violence toward women in Thai society. The data sources used in this study were from a number of 90 narrative stories of women under the help of organizations for assisting women who were victims of violence during the period of 1999-2011. Those organizations concerned were Friend-of-Women Foundation, Office of Thai Health Promotion Foundation, Association for the Promotion of the Status of Women, and One Stop Crisis Center in Khon Kaen province. The researcher used the Van Dijk’s approach to analyze the relationship between language and ideology, which offers the frame of ideology analysis with the formula so-called ‘Ideological Square’ and the concept of analyzing language technique to convey ideology through employing ‘Lexical Item’ including the use of ‘Conceptual Metaphor’ according to the proposed idea of Lakoff, G., and Johnson, M.
        The study results were found that the relationship between language and ideology in narrative discourse of the group against violence toward women in Thai society was employment of stories to convey the ideology of opposing the use of violence against women through the perspective of the narrator and characters as characterized by the usage of 2 methods of language: ‘Lexical Item’ and ‘Conceptual Metaphor’. The results of usage of the language methods disclosed that there was a presentation of the images of the narrator and characters in 3 ways:
    presentation of positive images of the group against the use of violence toward women in Thai society; presentation of negative images of the people who used violence against women in Thai society, and presentation of images of women who were victims of violence with profound understanding and compassion.

    Download Full Paper: