Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำานักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
Public Mind Development by Experiential Learning Process of Secondary Student Leaders under the Offi ce of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3

[เปิดดู 162 ครั้ง]

ปภาพินท์ รุณธาตุ, วัลนิกา ฉลากบางจำนง วงษ์ชาชม, และ พรเทพ เสถียรนพเก้า

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำนักเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนและ หลังการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและก่อนการใช้ชุดฝึกอบรม และ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนในกลุ่มทดลองระหว่างหลังการใช้ชุดฝึกยุติและหลังการฝึกอบรมสิ้นสุดแล้ว 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบบแผนการทดลองใช้ แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของผู้นำานักเรียน จำนวน 10 กิจกรรม และแบบวัดจิตสาธารณะของผู้นำานักเรียน จำานวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจ จำแนกตั้งแต่ 0.28-0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสถิติ t-test
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำานักเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 85.37/80.04 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 10 กิจกรรม คือ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น จำนวน 3 กิจกรรม ด้านการเสียสละต่อสังคม มี 3 กิจกรรม และด้านการมุ่งมั่นพัฒนาสังคม มี 4 กิจกรรม ซึ่งในแต่ละชุดมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ชื่อชุดฝึกอบรม หัวข้อเนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์ กิจกรรมหรือวิธีการดำาเนินการ ภาระงาน หรือชิ้นงาน สื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ ระยะเวลา ที่ใช้ฝึกอบรม และการประเมินผล 2) ผู้นำานักเรียนที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังการฝึกอบรม
    สูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้นำานักเรียนกลุ่มควบคุมที่สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีพฤติกรรมจิตสาธารณะก่อนและหลังการฝึกอบรมไม่แตกต่างกัน และ 3) ผู้นำนักเรียนที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความคงทนของพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังการฝึกอบรมยุติและพฤติกรรมหลังการฝึกอมรมเสร็จสิ้นแล้ว 1 เดือน ไม่แตกต่างกัน

  • Abstract
  •     The objectives of this study were: 1) to create and fi nd the efficiency of a public mind development training package by using experiential learning process of student leaders, 2) to compare the behavior of student leaders in public mind of the treatment and control groups between before and after implementation of the training package created by this author for developing public mind, 3) to compare the behavior of student leaders in public mind of the treatment group between after the implementation of training package and a lapse of one month afterwards. A sample used in study as selected by multi-stage random sampling was 50 junior secondary student leaders who were divided into 2 groups of equal number: treatment and control group. The experimental design was two-group pretest-posttest design. The instruments used comprised a training package with 10 activities for developing public mind of student leaders and a 25-item form for measuring student leaders’ public mind whose discrimination values ranged between 0.28 and 0.67 and reliability coeffi cient was 0.85. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation and t-test.
        The findings were as follows: 1) the public mind development training package by using experiential learning process of student leaders as created by the authors had effi ciency of 85.37/80.04, which was higher than the standard criterion of 80/80. It comprised 3 aspects and 10 activities, namely ‘sacrifi ce for society’ including 3 activities and ‘commitment to social development’ including       4 activities. The package was composed of 9 components: title, topics of content, concept, objectives, activity or process, task, media, equipment, learning sources, duration of training and evaluation. 2) Student leaders who got trained using the package created by the authors had signifi cantly higher public mind behavior after training than that before treatment at the .05 level; while student leaders in the control group who were taught according to the curriculum of Ministry of Education had no difference of public mind behavior between before and after getting trained. And 3) student leaders who got trained using the training package created by the authors had no difference in persistence of public mind behavior between after the implementation of training package and a lapse of one month afterwards.

    Download Full Paper: