Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม
Development of Indicators of Instructional Leadership of School Administrators under Nakhon Phanom Municipality

[เปิดดู 209 ครั้ง]

วานิสินธุ์ ผาลา1 ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์2 และ รศ.ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร3

  • บทคัดย่อ
  •  การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม

    โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบเทคนิคเดลฟาย เก็บรวบรวมข้อมูล 3 รอบจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คนซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์
    ที่กำหนด ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาฉันทามติของการคัดเลือกตัวบ่งชี้โดยใช้ค่าสถิติมัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง
    ควอไทล์ (Interquartile Range) และวิเคราะห์ระดับความเหมาะสมในการบ่งชี้คุณภาพของตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบ
    โดยพิจารณาค่ามัธยฐานที่คำนวณได้ ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมือง
    นครพนม ที่พัฒนาได้ มีจำนวน 88 ตัวบ่งชี้ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุดจำนวน 46 ตัวบ่งชี้ และเหมาะสมระดับมาก จำนวน
    42 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ด้านความสามารถเฉพาะตัวในเชิงบริหารมีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด
    เทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 23 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ และมีความเหมาะสม
    ระดับมาก จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นมีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร
    โรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ และ
    มีความเหมาะสมระดับมาก จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านความสามารถในการบริหารการศึกษามีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของ
    ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด จำนวน 9 ตัวบ่งชี้
    และมีความเหมาะสมระดับมาก จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านความสามารถในการวางแผนการศึกษามีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการ
    ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด จำนวน 5 ตัวบ่งชี้
    และมีความเหมาะสมระดับมาก จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านความสามารถในการทำงานร่วมกับชุมชนมีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการ
    ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด จำนวน 8 ตัวบ่งชี้
    และมีระดับความเหมาะสมมาก จำนวน 6 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านความสามารถในฐานะผู้นำด้านศาสนา วัฒนธรรม และจริยธรรม
    มีตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสม
    ระดับมากที่สุด จำนวน 4 ตัวบ่งชี้ และมีระดับความเหมาะสมมาก จำนวน 4 ตัวบ่งชี้
    ซึ่งผลการวิจัยจะได้ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการที่มีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ที่ใช้เป็นแนวทางพัฒนาผู้บริหาร
    โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองนครพนม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาอื่น ๆ ต่อไป
     
    คำสำคัญ: การพัฒนา ตัวบ่งชี้ ภาวะผู้นำทางวิชาการ

  • Abstract
  •  This research aims to develop instructional leadership indicators of school administrators under

    Nakhon Phanom Municipality. The Delphi technique was used as the research process. Data were collected 3 rounds
    from 20 experts whose qualifications met the criteria. The obtained data were analyzed to find consensus on the
    selection of indicators using descriptive statistics: median, interquartile range and analysis of the levels of
    appropriateness of each component’s indicators in identifying the quality based on the calculated medians. The
    results showed that there were 88 instructional leadership indicators of the school administrators under Nakhon
    Phanom Municipality developed; 46 indicators were appropriate at the highest level, and 42 indicators were
    appropriate at the high level as follows: 1) As for the specific competency in terms of administration, there were 23
    instructional leadership indicators of the school administrators under Nakhon Phanom Municipality; 14 indicators were
    appropriate at the highest level, and 9 indicators were appropriate at the high level. 2) As for the ability to work with
    others, there were 12 instructional leadership indicators of the school administrators under Nakhon Phanom
    Municipality; 6 indicators were appropriate at the highest level, and 6 indicators were appropriate at the high level.
    3) As for the ability in educational administration, there were 18 instructional leadership indicators of the school
    administrators under Nakhon Phanom Municipality; 9 indicators were appropriate at the highest level, and 9 indicators
    were appropriate at the high level. 4) As for the ability to plan education, there were 13 instructional leadership
    indicators of the school administrators under Nakhon Phanom Municipality; 5 indicators were appropriate at the
    highest level, and 8 indicators were appropriate at the high level. 5) As for the ability to work with the community,
    there were 14 instructional leadership indicators of the school administrators under Nakhon Phanom Municipality;
    8 indicators were appropriate at the highest level, and 6 indicators were appropriate at the high level. 6) As for the
    ability to be a leader in religion, culture and ethics, there were 8 instructional leadership indicators of the school
    administrators under Nakhon Phanom Municipality; 4 indicators were appropriate at the highest level, and 4 indicators
    were appropriate at the high level. The research results found the appropriate and possible indicators of instructional
    leadership which could be used as guidelines for developing the school administrators under Nakhon Phanom
    Municipality, the agencies related to the administration of educational institutions, and other educational
    administrators in the future.
     
    Keywords: development, indicators, instructional leadership

    Download Full Paper:
    การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดเทศบาลเมืองนครพนม