Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพ และที่พักอาศัยแตกต่างกัน
Comparisons of Consumption Behaviors and Attitudes toward Having Sexual Relationship at School Age of University Students in Changwat Sakon Nakhon with Differences in Self-confidence, Personality and Residence.

[เปิดดู 197 ครั้ง]

เบญจพร กาลบุตร ดร.รังสรรค์ โฉมยา และ ผศ.ว่าที่ ร.ต.ดร.อรัญ ซุยกระเดื่อง

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    เจตคติมีความเกี่ยวข้องกับการแสดงออก ของพฤติกรรมสังคม การจะปรับระบบกลไกของสังคมได้นั้น ควรจะเริ่มต้นจาก
    การเปลี่ยนแปลงเจตคติของแต่ละบุคคล ดังนั้นการรู้เจตคติของคนจึงสามารถใช้ทำนายพฤติกรรมที่เขาจะแสดงออกเป็นการรู้
    ล่วงหน้าเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขพฤติกรรม การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและ
    เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษาระดับ ปวส. และระดับมหาวิทยาลัยในจังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อมั่นใน
    ตนเอง บุคลิกภาพและที่พักอาศัยแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษา ในจังหวัดสกลนคร จำนวน 840 คน ได้มาโดย
    การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดพฤติกรรม
    การบริโภคจำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.90 แบบวัดเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน จำนวน 21 ข้อ
    มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 แบบวัดบุคลิกภาพ จำนวน 30 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 และแบบวัด
    ความเชื่อมั่นในตนเอง จำนวน 13 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
    มาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณสามทาง (Three-way MANOVA) ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) นักศึกษา
    โดยจำแนกตามความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพ และที่พักอาศัย ยกเว้นนักศึกษาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ มีบุคลิกภาพ
    แบบเปิดหรือปิดและพักอยู่หอพัก มีพฤติกรรมการบริโภคอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้นักศึกษาทุกกลุ่ม มีเจตคติทางลบต่อ
    การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน 2) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพ และที่พักอาศัย ต่อการมีพฤติกรรมการ
    บริโภคและเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษาในจังหวัดสกลนคร โดยนักศึกษาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
    มีบุคลิกภาพแบบเปิด และพักอยู่กับผู้ปกครองมีพฤติกรรมการบริโภคและเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนสูงกว่านักศึกษา
    ที่มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง บุคลิกภาพแบบเปิด หรือปิดและพักอาศัยกับผู้ปกครอง และนักศึกษาที่มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ
    มีบุคลิกภาพแบบปิด และพักอยู่หอพัก (p=.0001)
    โดยสรุป นักศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง และบุคลิกภาพแตกต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมการบริโภค
    และเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ปกครองและครู ซึ่งเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับนักศึกษามากที่สุด
    ควรให้ความรู้ ปลูกฝังค่านิยมเชิงบวก เจตคติทางเพศ แนะนำให้มีการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศ และพฤติกรรม
    การบริโภคที่เหมาะสมต่อไป

    คำสำคัญ: พฤติกรรมการบริโภค

  • Abstract
  • ABSTRACT

    Attitudes are related to conducting social behaviours. To be able to adjust the mechanism system of the
    society, an attitude of individual people should be changed. Therefore,knowing someone’s attitude can be used for
    predicting the behaviours which thay will express. This advanced knowledge is usful for seeking ways to prevent and
    solve such behaviours. This research aimed to compare consumption behaviours and attitudes toward having sexual
    relationship at school age of students with differences in self-confidence, personality and residence. The sample
    consisted of 840 students from colleges and universities in Changwat Sakon Nakhon, obtained using the multi-stage
    random sampling technique. The instruments used in the research were a 16-item scale on consumption behavior
    with a reliability of 0.90, a 21-item scale on having sexual relationship at school age with a reliability of 0.94, a
    30-item scale on personality with a reliability of 0.84, and a 13-item scale on self-confidence with a reliability of 0.71.
    The statistics used in the research were percentage, mean, standard deviation and F-test (Three-way MANOVA). The
    research findings were as follows: 1) The students as a whole and as classified according to self-confidence,
    personality and residence indicated consumption behaviors at a low level except for the studentwith low confidence,
    introvert or extrovert personality and dormitory living showed their behaviors at a medium level. In addition all a
    groups of the students showed negative attitude toward having sexual relationship at school age. 2) There were
    interactions of self-confidence with personality and residence concerning consumption behaviors and attitudes toward
    having sexual relationship at school age. The students with low confidence, extrovert personality and living with
    parents indicate more consumption behaviors and negative attitudes toward sexual relationship at school age more
    than the students with high confidence, extrovert or introvert behaviors and living with parents and the students with
    low confidence, introvert personality and dormitory living. (p = .0001).
    In conclusion, the college/university students in Changwat Sakon Nakhon with differences in self-confidence,
    personality and residence showed differences in consumption behavior and negative attitudes toward having sexual
    relationship at school age. Therefore, parents and teachers who are persons closest to these students should give
    knowledge, cultivate values, provide positive attitudes toward sex, advice them to express appropriate sexual
    behaviours and consumption behaviours.

    Keyword: Consumption Behaviors

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคและเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน ของนักศึกษาในจังหวัดสกลนคร ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง บุคลิกภาพ และที่พักอาศัยแตกต่างกัน