Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม
State and Problems of the Management of Student Development Activities in the Key Stages 3 and 4 in Schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area

[เปิดดู 189 ครั้ง]

วัชระ ปัจจุสานนท์ ผศ.ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ รศ.ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร

  • บทคัดย่อ
  • บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่
    เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามการรับรู้ของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรม
    พัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอนจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง และขนาดโรงเรียนที่เปิดสอน ประชากรในการวิจัยประกอบ
    ด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 51 คน หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 51 คน และครู จำนวน 1,245 คน รวมทั้งสิ้น 1,347
    คน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 51 คน หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 51 คน และครู
    ผู้สอน จำนวน 199 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
    ด้านสภาพการดำเนินงาน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.42–0.88 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.98 ส่วนด้านปัญหา
    การดำเนินงาน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.39–0.77 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาร้อยละ
    ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
    ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
    การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก
    2) ปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด
    นครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอน อยู่ในระดับน้อย 3) สภาพการจัดกิจกรรม
    พัฒนาผู้เรียน ในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความ
    คิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4) ปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัด
    นครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญ
    ทางสถิติที่ระดับ .05 5) สภาพการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงาน
    เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และครูผู้สอนที่ปฏิบัติ
    หน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
    ในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามความคิดเห็นของ
    ผู้บริหาร หัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
    ทางสถิติที่ระดับ .05 7) แนวทางพัฒนาสภาพการจัดกิจกรรมพัฒนามี 2 ด้าน ได้แก่ ขั้นการปฏิบัติกิจกรรม และขั้นการประเมิน
    ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

    คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

  • Abstract
  • ABSTRACT

    This study aimed to investigate and compare the state and problems of the management of student
    development activities in the key stages 3 and 4 in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service
    Area as perceived by school administrators, heads of student development affairs, and teachers, all of which were
    classified by their positions, fields of study and sizes of schools. The target population of 1,347 consisted of
    51 school administrators, 51 heads of student development affairs, and 1,245 teachers. Samples of the study,
    selected by multi-stage sampling, were 51 school administrators, 51 heads of student development affairs, and 199
    teachers. Instrument used to collect data was a set of researcher-constructed questionnaires which consisted of
    2 parts–the first part’s questions of which discrimination power and reliability were 0.42-0.88 and 0.98, asking about
    the state of the management of student development activities in schools, whereas the questions of the second part
    of which discrimination power and reliability were 0.39-0.77 and 0.96, were about the problems of the management.
    Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test (independent samples), and
    One-way ANOVA. Results of the study were as follows : 1) School administrators, heads of student development
    affairs, and teachers’ views of the state of the management of student development activities in the key stages 3 and
    4 in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area as a whole were at the high level.
    2) School administrators, heads of student development affairs, and teachers’ views of the problems of the
    management of student development activities in the key stages 3 and 4 in schools under the Offices of Nakhon
    Phanom Educational Service Area as a whole were at the low level. 3) School administrators, heads of student
    development affairs, and teachers’ views of the state of the management of student development activities in the key
    stages 3 and 4 in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area were not different at .05.
    4) School administrators, heads of student development affairs, and teachers’ views of the problems of the
    management of student development activities in the key stages 3 and 4 in schools under the Offices of Nakhon
    Phanom Educational Service Area were not different at .05. 5) School administrators, heads of student development
    affairs, and teachers’ views of the state of the management of student development activities in the key stages 3 and
    4 in schools under the Offices of Nakhon Phanom Educational Service Area classified by the size of their schools
    were not different at .05. 6) School administrators, heads of student development affairs, and teachers’ views of the
    problems of the management of student development activities in the key stages 3 and 4 in schools under the Offices
    of Nakhon Phanom Educational Service Area classified by the size of their schools were not different at .05.
    7) Areas of the management of student development activities in the key stages 3 and 4 in schools under the Offices
    of Nakhon Phanom Educational Service Area that need to be improved, all suggestions for which were presented by
    the author, included the process of putting the activities into practice, and the evaluation of the management of
    student development activities.

    Keyword: Student Development Activities

    Download Full Paper:
    สภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนที่เปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 และ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม