ความเป็นมา มนพ.      
           มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เกิดจากการหลอมรวมสถานศึกษาในจังหวัดนครพนม ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่122 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ.2548 จึงมีผลให้มหาวิทยาลัยนครพนม ได้รับการยกฐานะเป็น “มหาวิทยาลัยนครพนม”ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2548 โดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินั้นให้รวม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม วิทยาเขตนครพนม, วิทยาลัยเทคนิคนครพนม, วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครพนม, วิทยาลัยการอาชีพธาตุพนม, วิทยาลัยการอาชีพนาหว้า และ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม  มาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม และให้มหาวิทยาลัยนครพนม เป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการตามกฎหมาย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
          มหาวิทยาลัยนครพนมดำเนินภารกิจภายใต้ภารกิจเดิมของสถานศึกษาที่นำมาหลอมรวม จัดการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) หลักสูตรปริญญา ภายใต้ภาระกิจการหลอมรวมสถานศึกษาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งแตกต่างจากสถาบันอุดมศึกษาเดิมที่จัดตั้งสถาบันขึ้นมาใหม่....
           
ปรัชญา/เอกลักษณ์/อัตลักษณ์
  ปรัชญา
           พัฒนาตน ตื่นรู้ ผู้รับใช้สังคม
   
  เอกลักษณ์
           มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรม  (University of Societal Creativity)
   
  อัตลักษณ์
 

         พัฒนาตน ตื่นรู้ สู้งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี

   
วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์
  วิสัยทัศน์
          มหาวิทยาลัยนครพนมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์สังคมพหุวัฒนธรรมชั้นนำแห่งอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
   
  พันธกิจ
           พันธกิจที่ 1 : จัดหลักสูตรการสอนและพัฒนากำลังคนที่มีความรู้ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรมภายใต้บริบทความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสังคมของประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
         พันธกิจที่ 2 : การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ที่สำคัญต่อการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนของทุกภาคส่วน
         พันธกิจที่ 3 : ให้บริการวิชาการและเป็นผู้นำในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลางเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
         พันธกิจที่ 4 : ส่งเสริม ทำนุบำรุง  และเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรมที่หลากหลายเพื่อการบูรณาการ การอยู่ร่วมกันในประเทศกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
         พันธกิจที่ 5 : การบริหารจัดการที่ดีด้วยหลักธรรมาภิบาล
   
  ยุทธศาสตร์
 

ยุทธศาสตร์ที่  1 เป็นศูนย์กลางการจัดการศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง  (3 กลวิธี 6 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์  : สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีความรู้ ทักษะ อดทน สู้งาน มีคุณธรรมจริยธรรมและสามารถปรับตัว  ตอบสนองต่อบริบทความเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      กลวิธีที่  1.1 ปรับปรุงหรือเปิดหลักสูตรที่สอดคล้อง โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับต่อการพัฒนาสังคม  เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
      กลวิธีที่  1.2 จัดระบบการเรียนการสอนและการพัฒนากิจกรรมนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
      กลวิธีที่  1.3 การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับศิษย์เก่า

ยุทธศาสตร์ที่  2  สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมและประเทศไทย 4.0 (2 กลวิธี 2 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเป็นที่ยอมรับใน ระดับนานาชาติ
      กลวิธีที่  2.1 พัฒนาระบบการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ
      กลวิธีที่  2.2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย

ยุทธศาสตร์ที่  3 การให้บริการทางวิชาการเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนพหุวัฒนธรรม(2 กลวิธี 4 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนทุกระดับและมีการบริการทางวิชาการให้แก่ชุมชนพหุวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับ ความต้องการของภูมิภาคและประเทศ
      กลวิธีที่  3.1 ส่งเสริมและจัดบริการวิชาการตามความต้องการของชุมชนพหุวัฒนธรรม ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนกลาง
      กลวิธีที่  3.2 จัดบริการวิชาการแบบสาธารณะเฉพาะด้าน เช่น เปิดศูนย์ฝึกวิชาชีพ ศูนย์ทดสอบสมรรถนะวิชาชีพ และศูนย์ทดสอบต่างๆ

ยุทธศาสตร์ที่  4  บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล (3 กลวิธี 8 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองได้
      กลวิธีที่  4.1 พัฒนากลยุทธ์ทางการเงินที่มีประสิทธิภาพ (แผนกลยุทธ์ด้านการเงิน)
      กลวิธีที่  4.2 พัฒนาระบบบริหารจัดการที่มีคุณภาพและทันสมัย
      กลวิธีที่  4.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกพันธกิจที่ถูกต้อง รวดเร็ว และทันสมัย

ยุทธศาสตร์ที่  5   เพิ่มศักยภาพและสมรรถนะของบุคลากรทุกประเภทและทุกระดับ (3 กลวิธี 5 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์บุคลากรได้รับการพัฒนาสมรรถนะและทักษะวิชาชีพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ตลอดทั้งได้รับการพัฒนา คุณภาพชีวิต สวัสดิการ สภาพแวดล้อมและสุขภาวะอย่างมีประสิทธิภาพ
      กลวิธีที่  5.1 วางแผนและบริหารอัตรากำลังและสร้างแรงจูงใจให้เหมาะสมกับพันธกิจ
      กลวิธีที่  5.2 เสริมสร้างสมรรถนะและทักษะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรทุกประเภทและทุกระดับ
      กลวิธีที่  5.3 สร้างความก้าวหน้าตามสายงาน

ยุทธศาสตร์ที่  6  พัฒนาระบบการสื่อสารประชาสัมพันธ์และสร้างภาพลักษณ์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย (3 กลวิธี 5 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์พัฒนาระบบการตลาด เพื่อการสื่อสารภายในและภายนอกองค์กร
      กลวิธีที่  6.1 พัฒนาการสื่อสารภายในเพื่อสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร
      กลวิธีที่  6.2 การสื่อสารภายนอกองค์กร

ยุทธศาสตร์ที่  7 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสิ่งแวดล้อม  (1 กลวิธี 1 ตัวชี้วัด)
เป้าประสงค์มีโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน
      กลวิธีที่  7.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานและการจัดการเรียนการสอน

   
  ค่านิยมหลัก
 

Network         : ทำงานเป็นเครือข่าย
Pool               : พลังร่วม
Unity             : ความเป็นหนึ่งเดียว
(NPU : "บุคลากรมหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมทำงานด้วยพลังเครือข่าย รู้รักสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว")

   
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
  ตราสัญลักษณ์
 
 

         ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยนครพนมมีลักษณะเป็นรูปหยดน้ำสีน้ำตาลประกอบด้วย องค์พระธาตุพนมอยู่บนดอกบัว ส่วนล่างขององค์พระธาตุพนมมีซุ้มประตูสี่ทิศบนคลื่นน้ำสีฟ้าจำนวนสามเส้น ภายในองค์พระธาตุพนมเป็นลายดอกบัวเจ็ดดอก โดยทั้งหมดอยู่ในวงรีลักษณะหยดน้ำและภายในมีวงรีสีเหลืองทองสองวง ระหว่างวงรีสีเหลืองทองมีรูปรวงข้าวสีเหลืองทองทั้งสองข้าง ส่งนล่างของตราสัญลักษณ์เป็นรูปฐานสิงห์สีน้ำตาลดัดโค้งตามรูปหยดน้ำ ด้านใต้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยภาษาไทย "มหาวิทยาลัยนครพนม" และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า "NAKHON PHANOM UNIVERSITY"

ความหมายตราสัญลักษณ์
         วงรีรูปหยดนํ้า สื่อความหมายถึง หยดนํ้าหนึ่งหยดที่หลอมรวมกันเป็นแม่นํ้าแห่งการศึกษาเปรียบประดุจการรวมสถานศึกษา มาเป็นมหาวิทยาลัยนครพนม โดยสีนํ้าตาลเป็นสีประจำจังหวัด และ สีเหลืองทองเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย
         องค์พระธาตุพนมอยู่บนดอกบัว สื่อความหมายถึง การเคารพสักการะองค์พระธาตุพนมอันเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดนครพนมและเป็นตัวแทนของ คุณธรรมที่หลอมรวมใจของบุคคลทุกหมู่เหล่าเข้าไว้ด้วยกัน
         ซุ้มประตูสี่ทิศ สื่อความหมายถึง ประตูแห่งการศึกษาทั้งสี่ทิศที่เปิดโอกาสให้บุคคลเข้ามาแสวงหาองค์ความรู้
         คลื่นนํ้าสีฟ้าจำนวนสามเส้น สื่อความหมายถึง แม่นํ้าโขงซึ่งเป็นแม่นํ้านานาชาติที่ไหล อย่างต่อเนื่องเปรียบประดุจการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่บุคคลทุกชนชาติ
         ลายดอกบัวเจ็ดดอก สื่อความหมายถึง ลายประจำพระธาตุพนมซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งคุณธรรมและจำนวนเจ็ดดอกนั้นเทียบเท่ากับสถานศึกษาทั้งเจ็ดแห่งที่หลอมรวม เป็นมหาวิทยาลัยนครพนม
         รวงข้าวสีเหลืองทอง สื่อความหมายถึง ความเจริญเติบโตและการรวมกลุ่มกันเพื่อให้เกิด ความสามัคคี เพื่อเป้าหมายแห่งความสำเร็จในการปฏิบัติงานในนาม มหาวิทยาลัยนครพนม
         ฐานสิงห์ สื่อความหมายถึง ความมั่นคงและยั่งยืนของมหาวิทยาลัยนครพนม

ตราสัญลักษณ์ขนาดมาตรฐาน กว้าง 3.5 เซนติเมตร สูง 4 เซนติเมตร

Download ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยนครพนม

Download พระราชกฤษฎีกา กำหนดตราสัญลักษณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ.2550

 
         
สีประจำมหาวิทยาลัย   ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย   พระพุทธรูป
ประจำมหาวิทยาลัย
   

สีเหลืองทอง
สีประจำมหาวิทยาลัย
 
ดอกกันเกรา

ดอกกันเกราออกเป็นช่อ ออกมากบริเวณปลายกิ่ง ดอกอ่อนมีสีขาวนวล เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ประกอบด้วยดอกย่อยที่มีกลีบรองดอกขนาดเล็ก 5 กลีบ ออกดอกระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน
 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานนามพระพุทธรูปว่า "พระพุทธพิทยมงคล" หมายถึง พระพุทธรูปที่ประกอบไปด้วยความเจริญรุ่งเรืองแห่งความร
ู้ พระพุทธพิทยมงคล เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หล่อทองเหลืองปิดทอง ขนาดหน้าตัก 1.2 เมตร ออกแบบโดย รศ.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ




   ความเป็นมา มนพ.
........................................................................
   ปรัชญา/เอกลักษณ์/อัตลักษณ์
........................................................................
   วิสัยทัศน์/พันธกิจ/เป้าประสงค์
........................................................................
   สัญลักษณ์ มนพ.
........................................................................
   คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
........................................................................
   คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
........................................................................