Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ


[เปิดดู 211 ครั้ง]

ศินีนาฎ กำภูศิริ, ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

  • บทคัดย่อ
  •                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับแบบ 4 MAT ตามเกณฑ์ 75/75 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ระหว่างการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ 4) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ทั้ง 2 รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านสุขเกษม และโรงเรียนบ้านหนองค้าโคกกุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 2 ห้องรวม 50 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และแผนการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT รูปแบบละ 14 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากตั้งแต่ 0.52 ถึง 0.67 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.31 ถึง 0.62 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 3) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ ชนิดมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.27 ถึง .0.77 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบที (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และแบบ 4 MAT มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.48/ 80.77 และ 86.90/ 82.92 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 2) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และ แบบ 4 MAT มีค่าเท่ากับ 0.6788 และ 0.7036 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.88 และ 70.36 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT มีความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     

    คำสำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) / การจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT / ความฉลาดทางอารมณ์

  • Abstract
  •               The purposes of this study were: 1) to examine efficiency of lesson plans on ‘creative writing in Thai’ for Prathom Suksa 5 students through the organization of learning by the PBL and 4 MAT approaches based on the criterion judged at 75/75, 2) to investigate effectiveness indexes of lesson plans of both approaches, 3) to compare achievements of creative writing in Thai among the Prathom Suksa 5 students through both approaches, 4) to compare emotional quotients of Prathom Suksa 5 students through both approaches. A sample used in this study was 2 classes of 50 students selected by cluster random sampling from Ban-Sukasem School and Nongkha- Khokkung School under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 1, who were enrolled in the first semester of academic year 2012. The instruments used in this study were: 1) The lesson plans taking 14 hours for each approach by PBL or 4 MAT; 2) a 30-item test of achievement in creative writing with 4 choices whose difficulty values ranged between 0.52 and 0.67, discrimination power values between 0.31 and 0.62 and reliability value was 0.88; 3) a 30-item form for measuring an emotional quotient with a scale of 5 ratings whose discrimination power values ranged between 0.27 and 0.77 and reliability value was 0.91. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test of independent samples in hypothesis testing. The findings were as follows: 1) The lesson plans for the PBL and 4 MAT approaches had efficiency values of 82.48/80.77 and 86.90/82.92 respectively which were higher than the judged criterion; 2) the effectiveness indexes of lessons plans based on both PBL and 4 MAT approaches had the values of 0.6788 and 0.7036 respectively, showing that students had advance in their learning increases of 67.88% and 70.36% respectively; 3) the students who received the organization of learning through the 4 MAT approach had a significantly higher achievement in creative writing than those who received it through the PBL approach at the .05 level; 4) the students receiving the organization of learning through the 4 MAT approach had a significantly higher emotional quotient than those receiving the organization of learning through the PBL approach at the .05 level.
     

    Keywords : Learning Achievement / Organization of Learning by PBL Approach / Organization of Learning by 4 MAT Approach / Emotional Quotient (EQ)

    Download Full Paper: