Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี ระหว่าง การสอนโดยใช้กลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ STAD

[เปิดดู 233 ครั้ง]

อรัญญา แวงดีสอน, ทัศนา ประสานตรี และ มนตรี อนันตรักษ์

  • บทคัดย่อ
  •                    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมีกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการสอนโดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และนักเรียนที่ได้รับการสอนแบบเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD และ 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์–คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนสหราษฎร์รังสฤษดิ์ อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 2 ห้อง ห้อง 5/3 จำนวน 48 คน ห้อง 5/4จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด 4 ตัวเลือกจำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.22 ถึง 0.72 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มแบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรู้ที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และเทคนิคการเรียนรู้แบบSTAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Independent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนรู้ด้วยกิจกรรมกลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT ( = 30.44, S.D. = 3.70) และกิจกรรมการเรียนโดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD ( = 29.89, S.D. = 3.94) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียน เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ ระหว่างการสอน โดยใช้กลุ่มร่วมมือเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และเทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD ต่างมีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ( x = 3.80 , S.D.= 0.61 และ x = 3.81, S.D.= 0.67)
     

    คำสำคัญ : เทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT / เทคนิคการเรียนรู้แบบ STAD / ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน / ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

  • Abstract
  •               The purposes of this study were: 1)to compare learning achievement of one group of Mathayom Suksa 5 students who were taught with TGT learning technique to that of the other group of students at the same grade level who were taught with STAD learning technique in learning the Science Substance Group entitled‘ Calculating a Substance Quantity in a Chemical Reaction’, 2)to examine satisfaction of learning the Science Substance Group entitled ‘Calculating a Substance Quantity in a Chemical Reaction’ among Mathayom Suksa 5 students of the two groups of which one was taught with TGT learning technique and the other with STAD learning technique. A sample selected by cluster random sampling comprised two groups of Mathayom Suksa 5 students of the science-math program enrolled in the first semester of academic year 2011 at Saharat Rangsarit School, Si Songkhram district, Nakhon Phanom province–one group of 48 in the 5/3 classroom and the other group of 38 in the 5/4 classroom. The instruments used were a 40-item learning achievement test consisting of 4 choices whose discrimination power values ranged between 0.22 and 0.72 and reliability value was 0.77, a form for assessment of group working behavior and a questionnaire asking satisfaction of learning through TGT or STAD learning technique. Statistics used to analyze data were percentage, mean, standard deviation and t-test (independent samples). The findings revealed as follows: 1) Those Mathayom Suksa 5 students who learned through TGT learning technique (mean = 30.44, S.D. = 3.70) and who learned through STAD learning technique (mean = 29.89, S.D. =3.94) were not different in their learning achievement. 2) Those Mathayom Suksa 5 students who learned the Science Substance Group entitled ‘Calculating a Substance Quantity in a Chemical Reaction’ through teaching using the TGT learning technique versus the STAD learning technique were satisfied with their learning at the high level (mean = 3.80, S.D. = 0.61 and mean = 3.81, S.D. = 0.67).
     

    Keywords : Teams Games Tournaments (TGT) Learning Technique / Student Teams Achievement Divisions (STAD) Learning Technique / Learning Achievement / Satisfaction with the Organization of Learning Activity

    Download Full Paper:
    การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในการเรียน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่อง การคำนวณเกี่ยวกับปริมาณสารในปฏิกิริยาเคมี ระหว่าง การสอนโดยใช้กลุ่มร่วมมือด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ TGT และแบบ STAD