Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร
The Image perception towards Guzheng music of University Students in the Bangkok Area

[เปิดดู 241 ครั้ง]

ศุภชัย ภิญญธนาบัตร และ ปริยา รินรัตนากร

  • บทคัดย่อ
  •                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารกับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะทางประชากรด้านเพศอายุ และรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่แตกต่างกัน 2) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง 3) ความรู้เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิง 4) ทัศนคติที่มีต่อดนตรีกู่เจิงมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์เกี่ยวกับดนตรีกู่เจิง
     

    คำสำคัญ : การรับรู้ภาพลักษณ์ / ดนตรีกู่เจิง / การเปิดรับข่าวสาร / ทัศนคติ / นักศึกษาระดับอุดมศึกษา

    หมายเลข DOI : 10.14456/npuj.2014.7

  • Abstract
  •                  This research had objectives to investigate: 1) the difference of media exposure to Guzheng music among university students in the Bangkok area, 2) the relationship between their media exposure and knowledge of Guzheng music, 3) the relationship between their knowledge and attitude towards Guzheng music, and 4) the relationship between their attitude and image perception of Guzheng music. The survey research with a sample of 400 students was conducted through multi-stage random sampling method. The tool for data collection was questionnaire of which the overall reliability was 0.83. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, test of means difference, one-way analysis of variance, and Pearson’s correlation coefficient.

                     The research results showed that 1) the respondents with different genders, ages, and incomes had no difference of media exposure to Guzheng music; 2) the media exposure to Guzheng music did not have a relationship with the knowledge of Guzheng music; 3) the knowledge of Guzheng music had a relationship with the attitude
    towards Guzheng music; and 4) the attitude towards Guzheng music had a relationship with the image perception of Guzheng music.
     
    Keywords : Image Perception / Guzheng Music / Media Exposure / Attitude / University Students

    Download Full Paper:
    การรับรู้ภาพลักษณ์ดนตรีกู่เจิงของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร