Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์

[เปิดดู 197 ครั้ง]

รุ่งทิพย์ ศรีแสนยง ธีระ ภูดี และ คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล

  • บทคัดย่อ
  •                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนา และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าจำแนกอยู่ระหว่าง 0.38-0.82 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.93 แบบสัมภาษณ์ ใช้สัมภาษณ์คณะผู้บริหาร/ประธานกรรมการศูนย์ เพื่อทราบสภาพการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ของครูผู้ดูแลเด็ก และสัมภาษณ์ครูผู้ดูแลเด็ก ถึงสภาพและแนวทางในการพัฒนาแบบสังเกต ใช้สังเกตขณะการประชุมเชิงปฏิบัติการครู ผู้ดูแลเด็ก แบบประเมินการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็กระหว่างการนิเทศ และแบบประเมินเอกสารคู่มือที่ใช้ ประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละและค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายและพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดประสบการณ์ครูผู้ดูแลเด็กยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เนื่องจากเพิ่ง บรรจุใหม่ และไม่ปรับปรุงการเรียนการสอน ยังคงใช้วิธีการสอนแบบเดิมๆ เน้นการท่องจำ และไม่สามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ๆ มาจัดประสบการณ์จึงทำให้ขาดเทคนิคแนวทางสำหรับการจัดประสบการณ์และการประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละกิจกรรม 2) ควรพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย เน้น 3 กลยุทธ์ ได้แก่ การประชุมเชิง ปฏิบัติการการศึกษาเอกสารคู่มือ และการนิเทศแบร่วมพัฒนา 3) ผลการพัฒนาครูทำคะแนนเพิ่มจาก 24.75 (ร้อยละ 61.87) เป็น 34.50 (ค่าร้อยละ 86.25) ครูมีการปฏิบัติการโดยรวมเหมาะสมมากที่สุด (X= 4.65) และครูสามารถเขียนแผนได้ในระดับดี (x= 4.08) และผลจากการประเมินเอกสารคู่มือการอบรมโดยรวมมีความเหมาะสม (X = 4.16)
     

    คำสำคัญ : การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก / การจัดประสบการณ์ / ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

  • Abstract
  •               The objectives of this study were: 1) to investigate the current state and 2) to examine the results of developing the children’s caretaker-teachers in organizing the experience for young children in child development centers of Lakliam Sub-District Administration Organization, Namon district, Kalasin province. The participatory action research was employed in this study. The target group was 4 children’s caretaker-teachers. The instruments used to collect data were a test of knowledge and understanding in organizing the experience for young children, having discrimination power values of between 0.38 and 0.82 and a reliability value of 0.93; an interview guide for interviewing with the management team/chair of a center committee for getting informed of the state in organizing the experience for young children by the children’s caretaker-teachers and for interviewing with the children’s caretaker-teachers concerning the state and way in development; an observation form for observing the children’s caretaker-teachers while attending the workshop; a form for assessment of organizing the experience for young children by the children’s caretaker-teachers during the period of supervision; and a form for assessment of the document and manual given in the workshop. Statistics used were percentage and mean. The data were analyzed into description. The findings of study were as follows: 1) the state of organizing the experience among the children’s caretaker-teachers still lacked knowledge and understanding about principles of organizing the experience for young children. This is because they just filled a position and did not know how to improve their instruction. They still used traditional teaching methods with emphasis on memorization and were not capable of applying technology and innovation in organizing the experience. Thus, they lacked techniques and ways for organizing the experience and for assessing the child development in each activity. 2) The children’s caretaker-teachers should be developed to have knowledge and understanding of organizing the experience for young children. An emphasis was put on 3 strategies, namely workshop, document and manual study, and supervising the cooperative management. 3) The results of developing teachers showed the increased score from 24.75 (61.87%) to 34.50 (86.25%). The teachers had the overall operation at the most appropriate level (mean = 4.65) and they were able to write a plan at the high level (mean = 4.08) and the result of assessing the document and manual for training as a whole showed the high appropriateness level (mean = 4.16).
     

    Keywords : Development of the Children’s Caretaker-Teachers / Organizing the Experience /Child Development Centers

    Download Full Paper:
    การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลหลักเหลี่ยม อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์