Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางพัฒนาศูนย์ภาษาอาเซียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมุกดาหาร
A Study of the Operational State and Guidelines on Development of an ASEAN-languages Center of Non-Formal and Informal Education of the Districts under the Office of Mukdahan Provincial Non-Formal and Informal Education

[เปิดดู 200 ครั้ง]

บุญส่ง บุญทศ, ธีระ ภูดี และ ศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน

  • บทคัดย่อ
  •                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพการดำเนินงานศูนย์ภาษาอาเซียน กศน.อำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมุกดาหาร 2) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาศูนย์ภาษาอาเซียนกศน.อำเภอ สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมุกดาหารเป็นการศึกษาจากประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ ครูและบุคลากรทางการศึกษาการศึกษานอกระบบและ การศึกษาตามอัธยาศัย บรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนจังหวัด/อำเภอ ประธานคณะกรรมการศูนย์ภาษาอาเซียน จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และค่าความถี่ (f) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงาน 1) ศูนย์ภาษาอาเซียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของศูนย์ภาษาอาเซียนการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ พบว่า มีดังนี้ 2.1) ควรจัดให้มีอุปกรณ์ชุดรับสัญญาณดาวเทียม มุมปฏิบัติการทางภาษา 2.2) ควรจัดการศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนบุคลากรในประเทศกลุ่มอาเซียน 2.3) ควรระดมทรัพยากรในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมของศูนย์ภาษาอาเซียน 2.4) ควรมีส่วนร่วมในการนิเทศติดตามผลของเครือข่ายและศูนย์ภาษา อาเซียน การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ สำหรับแนวทางการพัฒนาศูนย์ ประกอบด้วย 1) พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาและผู้รับผิดชอบศูนย์ภาษาอาเซียน จัดหาเทคโนโลยี และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ จัดสภาพแวดล้อมศูนย์ภาษาอาเซียนทั้งภายในและภายนอก ให้สะอาด ร่มรื่น สวยงาม จัดทำแผนงาน/โครงการ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานเครือข่าย 2) สร้างเครือข่ายนิเทศนิเทศแบบมีส่วนร่วม สรุปรายงานการดำเนินงานศูนย์ภาษาอาเซียนสู่สาธารณชนในรูปแบบที่หลากหลาย ส่งเสริมให้มีการนำผลการนิเทศไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานศูนย์ภาษาอาเซียน
     

    คำสำคัญ : สภาพการดำเนินงาน / ศูนย์ภาษาอาเซียน / กศน.อำเภอ /แนวทางพัฒนา

  • Abstract
  •               The objectives of this study were: 1) to investigate the operational state on development of an ASEAN-language center of non-formal and informal education of the districts under the Office of Mukdahan Provincial Non-Formal and Informal Education, and 2) to examine suggestions and guidelines on development of an ASEAN-language center in Mukdahan province. The population of this study was directors of a center of non-formal and informal education of the districts, teachers, and non-formal and informal education personnel, librarians of provincial and district public libraries, and the chairperson of the ASEAN-languages center committee,totaling 120 people. The instrument used was a rating scale questionnaire whose entire reliability value was 0.98. Statistics used to analyze data were mean (μ), standard deviation (σ), and frequency (f). The results were found as follows: In the overall operational state, the ASEAN-languages center of non-formal and informal education of the districts was at the high level. 2) At suggestion on the operation of the ASEAN-languages center of the districts’ non-formal and informal education, it was found as follows: 2.1) satellite signal receiving equipment and the sound lab corners should be provided, 2.2) a study trip and personnel exchange among the ASEAN countries should be provided, 2.3) the community resources should be marshaled for the benefit of activity arrangement by the ASEAN-languages center, 2.4) the ASEAN-languages center and their network should participate in supervision and follow-up of the districts’ non-formal and informal education. The guidelines on development of an ASEAN-languages center comprised: 1) development of teachers and educational personnel and those who were responsible for the ASEAN-languages center; provision of technology and electronic media; organization ofthe environment of the ASEAN-languages center both internal and external to be clean, shady and cool, and beautiful as well, and making a plan/project and integration of it with the network’s work unit. 2) Creation of supervisory network, participation in supervision, making a conclusion of the operational report of the ASEANlanguages center for the public into a variety of forms; promoting the application of supervision results for improving the operational development of the ASEAN-languages center.
     

    Keywords : Operational State / ASEAN-languages Center / Non-formal and Informal Education of the / Guidelines on Development
    Download Full Paper:
    การศึกษาสภาพการดำเนินงานและแนวทางพัฒนาศูนย์ภาษาอาเซียน การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดมุกดาหาร