Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัยที่มีต่อมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
The Effects of Inductive Learning Activity on Mathematical Concepts and Mathematical Reasoning Ability about Pythagoras Theorem Of Eighth Grade Students

[เปิดดู 500 ครั้ง]

อุไรวรรณ คำเมือง , นงลักษณ์ วิริยะพงษ์ และ มนชยา เจียงประดิษฐ์

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย กับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย 2) แบบทดสอบวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 3) แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 4) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t – test for one sample ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.41/77.63 2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 0.6175 3) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์  ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบอุปนัย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

     

  • Abstract
  •        The purposes of this research were: 1) to develop inductive learning management plans on Pythagoras Theorem according to the efficiency criterion of 75/75, 2) to examine the effectiveness index of learning management, 3) to compare the mathematical concept after learning through the inductive learning activity with the criterion set at 70%, and 4) to compare the mathematical reasoning ability after learning with the inductive learning activity with the criterion set at 70%. The sample group of this study was 40 eighth grade students of Buriram Pitthayakom School, Buriram province. The instruments used were: 1) inductive learning management plans, 2) learning achievement test with the reliability coefficient of 0.93, 3) mathematical concept test with the reliability coefficient of 0.83, 4) mathematical reasoning ability test with the reliability coefficient of 0.84. Statistics used in the research were mean, standard deviation, percentage, and one-sample t-test of hypothesis.

    The results were found as follows: 1) inductive learning  management plans had an efficiency index of 80.41/77.63; 2) effectiveness index of  learning management was 0.6175; 3) mathematical concept after learning with  the inductive learning management plans was higher than the criterion set at 70% with statistical significance at .05 level, 4) mathematical reasoning  ability  after learning with the inductive learning  management plans was higher than the criterion set at 70% with statistical significance at .05 level.

    Download Full Paper: