Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
The Development of Local Curriculum of Bantham Heritage for Bantham Prachabamrung School

[เปิดดู 509 ครั้ง]

น้ำฝน กันมา

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง 2) ศึกษาความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของหลักสูตร และ 3) ศึกษาผลงานและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนเมื่อผ่านการเรียนรู้ตามหลักสูตรมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง ประชากร ได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 1 คน ครู จำนวน  9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 64 คน และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินสำหรับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่แบบประเมินความถูกต้อง และแบบประเมินความเป็นไปได้ แบบประเมินสำหรับผู้บริหารและครู จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมินความเป็นไปได้ และแบบประเมินความเป็นประโยชน์ และแบบสังเกตพฤติกรรมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สถิติที่ใช้ คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง มีองค์ประกอบ ได้แก่ คำนำ คำชี้แจงประกอบการใช้หลักสูตร วิสัยทัศน์ พันธกิจ  เป้าประสงค์ โครงสร้าง เนื้อหา เวลา ผังมโนทัศน์ แนวทางการจัดการเรียนรู้  อันประกอบไปด้วย สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้  สาระการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ได้แก่ หน่วยที่ 1 บริบทบ้านถ้ำ ตำนานและความเชื่อ  หน่วยที่ 2 แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และความเชื่อประเพณีในสวนรุกขชาติ (ป่าชุมชนบ้านถ้ำจอมศีล) หน่วยที่ 3 เส้นทางศึกษาระบบนิเวศป่าชุมชนบ้านถ้ำจอมศีล และหน่วยที่ 4 ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบในบ้านถ้ำ (ทะเลโบราณ 350 ล้านปี สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล  และสื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ทั้งนี้   ผลประเมินความถูกต้องและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของหลักสูตรท้องถิ่นมรดกบ้านถ้ำ โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุงโดยผู้บริหารและครู พบว่า ในภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ระดับมาก และด้านความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และ 3) ผลงานของผู้เรียนหน่วยที่ 1 บริบทบ้านถ้ำตำนานและความเชื่อ ได้แก่ การรำ การตัดตุง หน่วยที่ 2 แหล่งเรียนรู้วัฒนธรรม และความเชื่อประเพณีในสวน รุกขชาติ (ป่าชุมชนบ้านถ้ำจอมศีล) ได้แก่ การขัดราชวัตรที่ทำจากไม้ไผ่ หน่วยที่ 3 เส้นทางศึกษาระบบนิเวศป่าชุมชนบ้านถ้ำจอมศีล ได้แก่ ภาพวาดใบไม้ตามที่นักเรียนสนใจพร้อมบอกชนิดและสรรพคุณของใบไม้ หน่วยที่ 4 ซากดึกดำบรรพ์ ที่พบในบ้านถ้ำ (ทะเลโบราณ 350 ล้านปี) ได้แก่ ภาพวาดฟอสซิลที่พบ และสาธิตการค้นหาฟอสซิลอย่างง่ายด้วยตนเอง และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน ได้แก่ มีความรักและหวงแหนทรัพยากรท้องถิ่น มีจิตอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับดีเยี่ยม คิดเป็นร้อยละ 53.13 รองลงมาคือ ระดับดี คิดเป็นร้อยละ 43.75 และระดับผ่าน คิดเป็นร้อยละ 3.12

  • Abstract
  •        The objectives of this study were: 1) to develop a local curriculum of Bantham heritage for Bantham Prachabamrung School, 2) to investigate the appropriateness, feasibility and usefulness of the curriculum, and 3) to examine the performance and desirable characteristics of the students after learning through the curriculum of Bantham heritage, Bantham Prachabamrung School. The population consisted of 1 administrator, 9 teachers, 64 first-to-sixth grade students, and 5 experts. The instruments used in the study were 2 copies of assessment forms for experts which include one for assessing accuracy and the other for assessing feasibility; 2) 4 copies of assessment forms for administrators and teachers which include forms for assessing appropriateness, feasibility, usefulness and for observing desirable characteristics . Statistics used in the study were mean and standard deviation. Findings of the study revealed as follows. 1) The development of the local curriculum of Bantham Prachabamrung School was divided into introduction, explanations for curriculum implementation, vision, missions, goals, structure, content, time, concept map, and learning management approach which includes essence/concepts, learning objectives, and basic concepts of learning. The curriculum comprised 4 learning units. Unit 1 – context of Bantham and myths and beliefs; unit 2 – cultural learning sources and beliefs and customs in the native plant forest (Bantham  Chomsin community forest); unit 3 – the path to study the Bantham Chomsin community forest ecosystem; and unit 4 – fossils found in Bantham (ancient seas with 350 million years of age), important competencies of learners and desirable characteristics, learning activity, measurement and evaluation, and media/sources of learning. The overall evaluation of accuracy and feasibility of the overall curriculum by the experts was at high level. 2) As for the evaluation by administrators and teachers in case of appropriateness, it was found appropriate at high level; whereas in case of feasibility and usefulness, it was found at the highest level. And 3) student performance on learning unit 1 – context of Bantham, myths and beliefs included: dancing and making local flags; unit 2 – cultural learning sources and beliefs, customs in the native plant forest (Bantham Chomsin community forest) included making ritual bamboo fences; unit 3 – the ecosystem study path to the Bantham Chomsin community forest included: pictures of leaves according to students’ interest, and ability to tell the properties and type of leaves; unit 4 — fossils found  in the cave (ancient seas with 350 ;million years of age), drawings of fossils found, demonstrating fossil searches by themselves and desirable characteristics of students included having love and cherishing in local resources, having a mind to conserve resources and the environment. Most of the students were found having desirable characteristics at the highest level (53.13%), followed by those having at high level (43.75%) and moderate level (3.12%), respectively.

    Download Full Paper: