Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศสานา
The Model of Personnel Administration for Charity Schools in the Buddhist Temples

[เปิดดู 678 ครั้ง]

รังสรรค์ ศรีโคตร1 ชวนคิด มะเสนะ2 และ เกริกไกร แก้วล้วน3

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ การบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ           ครู บุคลากรในกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา จำนวน 357 คน จาก 111 โรงเรียน ได้มาจากการโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

    ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ปัญหาการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการในการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา  โดยรวม อยู่ในระดับมาก ผลการร่างรูปแบบการบริหารงานบุคคลโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ได้องค์ประกอบหลักของรูปแบบดังนี้ 1) กลไกการดำเนินงาน 2) กระบวนการดำเนินงานบริหารงานบุคคล ซึ่งประกอบกด้วย 4 กระบวนการย่อยได้แก่ (1) การวางแผนงานบุคคล (2) การได้มาซึ่งบุคคล (3) การพัฒนาบุคคลและสวัสดิการ และ (4) การประเมินผลการปฏิบัติงาน 3) การส่งเสริมการดำเนินงานตามรูปแบบ 4) เงื่อนไขสู่ความสำเร็จของรูปแบบ และ 5) แนวทางการประเมินรูปแบบ ผลการประเมินก่อนทดลองใช้รูปแบบมีผลโดยรวม พอใช้ ผลการประเมินหลังทดลองใช้รูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับ มาก ส่วนความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด

  • Abstract
  •       The purposes of the research were: 1) to study the problems and needs of the personnel administration for schools in the Buddhist temples, 2) to create a personnel administration model for  schools in the Buddhist temples, 3) to experiment in using the model created for schools in the Buddhist temples, and 4) to evaluate the personnel administration model implemented for schools in the Buddhist temples. The samples used for data collection included school licensees, managers, directors, teachers, and staff members with a total of 357 participants from 111 schools. Those samples were selected by stratified random sampling. The research tools included a questionnaire, an interview form, a form for evaluating appropriateness, feasibility, usefulness, and satisfaction of the model. Statistics used in data analysis included percentage, mean, and standard deviation. Results of the research showed as follows. The overall current problems and needs of the personnel administration for schools in the Buddhist temples were at high level.  The draft of personnel management model for charity schools in the Buddhist temples had the following main components: 1) mechanism of operation; 2) process of personnel administration which consists of 4 sub-processes, namely:  (1) personnel planning, (2) personnel recruitment, (3) personnel development and welfare, and (4) performance evaluation; 3) promotion of implementation according to the model; 4) conditions to the success of the model; and 5) guidelines for model evaluation. The overall evaluation results before the experiment in using the model were at moderate level whereas those after the experiment were at the highest level. Results of evaluation of appropriateness and feasibility of the model were at high level, while the result of usefulness was at the highest level.

    Download Full Paper: