Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

[เปิดดู 129 ครั้ง]

อลงกต แสวงสุข จุฑามาส ชมผา และ จิตรกร โพธิ์งาม

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 2) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ระยะที่ 1 ผู้บริหาร สมาชิกสภาท้องถิ่น เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและผู้นำชุมชนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 300 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ของ Krejcie & Morgan ระยะที่ 2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายในประชุมปฏิบัติการ เพื่อสร้างรูปแบบ จำนวน 29 คน และทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่แบบสอบถามภาวะผู้นำมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 ประเด็นการสนทนากลุ่มมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับเท่ากับ 0.88 และแบบประเมินความพึงพอใจหลังทดลองใช้รูปแบบมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
         ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.58, S.D.=1.17) 2) รูปแบบที่สร้างขึ้นมีองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่ (1) หลักการ คือ การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้นำและเสริมสร้างกระบวนทัศน์การพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (3) กระบวนการ คือ ALONGKOT MODEL มี 8 ขั้นตอน และ (4) ความพึงพอใจหลังการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ผู้เข้าร่วมทดลองใช้มีความพึงพอใจในภาพรวมระดับมากที่สุด ( = 4.62, S.D.=0.53)

    คำสำคัญ : พื้นที่ชายแดนไทย-ลาว ; องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ; รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ

  • Abstract
  •     This study aimed: 1) to investigate leadership of administrators in local administration organizations, and 2) to create a leadership development model of the local administration organizations’ administrators in the Thai-Lao border areas in Northeastern Thailand and experiment in using it. The study employed a mixed method. The population used in phase 1 of the study was administrators, local councilors, staff members, and community leaders in the areas of local administration organizations totaling 300 people. The sample size was determined according to the Krejcie and Morgan’s criteria. The  target groups determined in phase 2 for workshop on creation of a model comprised 29 people and for experiment in using the model comprised 30 people who were selected by purposive sampling. The instruments used were a leadership questionnaire which had the entire reliability of 0.85, issues for focus group discussion which had the entire content validity index (CVI) of 0.88, and a satisfaction assessment form for use after the experiment of implementing the model had a reliability coefficient of 0.80. Statistics used were mean and standard deviation whereas the qualitative data was analyzed by content.
        Findings of the study were as follows. Leadership of administrators in local administration organizations as a whole was at high level ( = 3.58, S.D. = 1.17). The created model consisted of 4 components: (1) principles as area-based management, (2) objectives as for developing leader’s competency and strengthening the integrated area-based development paradigm, (3) process as of MLONGKOT MODEL comprising 8 steps, and (4) the overall satisfaction after experiment in using the model among the experimental participants which was at the highest level ( = 4.62, S.D. = 0.53).

    Keywords : Thai-Lao Border Areas ; Local Administration Organization ; Leadership Development Model

    Download Full Paper: