Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ารพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง : กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ ผ้าทอพื้นเมืองโบราณลาวซี ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี
Development of a Virtual Local Museum: The Case Study of Learning Center for Traditional Local Fabrics Hand-woven by Lao Ethnicities Of Chee and Khrang in Suphanburi Province

[เปิดดู 126 ครั้ง]

เด่นเดือน เลิศทยากุล

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง: กรณีศึกษาศูนย์การเรียนรู้ผ้าทอพื้นเมืองโบราณลาวซี ลาวครั่ง จังหวัดสุพรรณบุรี 2) ประเมินความถูกต้องของเนื้อหาในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง 3) ประเมินความพึงพอใจในความสามารถใช้งาน และ 4) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นนักเรียนที่สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ของโรงเรียนวัดป่าสะแก จำนวน 12 คน และนักเรียนโรงเรียนบ่อกรุวิทยา จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมสนับสนุนการสร้างภาพ 360 องศา (Megavisor) และแบบประเมินระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลภาคสนาม  การสัมภาษณ์ การสังเกต แล้วนำข้อมูลมาพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริงด้วยภาษา HTML PHP และ JavaScript จากนั้น จึงนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test Dependent Samples)
         ผลการวิจัยพบว่า 1) พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์ออกแบบการนำเสนอเป็น 5 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนสภาพบริบทชุมชน (2) ส่วนประวัติความเป็นมาของชาวลาวซีลาวครั่ง (3) ส่วนการทอผ้าพื้นเมือง (4) ส่วนการนำผ้าทอไปใช้ และ (5) ส่วนการย้อมสีผ้าของชาวลาวซี ลาวครั่ง 2) ผลการประเมินความถูกต้องของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหาโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 อยู่ในระดับมาก คุณภาพด้านการออกแบบโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.14 อยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความพึงพอใจในความสามารถใช้งานโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 อยู่ในระดับมาก  และ 4) ผลการประเมินประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนที่ส่งผลต่อการเรียนรู้จากการใช้แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า คะแนนหลังการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 17.75 ดีขึ้นกว่าคะแนนก่อนการเรียนรู้ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 9.67

    คำสำคัญ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ; พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอิเล็กทรอนิกส์เสมือนจริง ; ลาวซี ; ลาวครั่ง ; ผ้าทอพื้นเมือง

  • Abstract
  •      This study aims: 1) to analyze, design and develop a virtual local museum through the selection of the Learning Center for Traditional Local Fabrics Hand-woven by Lao Ethnicities of Chee and Khrang in Suphanburi province as a case study, 2) to evaluate the accuracy of content in the virtual local museum, 3) to evaluate the satisfaction of having the ability to use it, and 4) to evaluate the efficiency of instructional media that affects learning.  A sample of total number of students including 12 ones from Wat Pa Sakae School and 24 ones from Bokru Withaya School was selected based on the criterion of having the ability to use the information system. The instruments used in the study were the 360-degree images support program (Megavisor) and the forms for evaluating the system. Data were collected from the study of relevant documents, the fieldwork, the interviews and the observation. The data were brought to develop a virtual local museum by using the HTML, PHP and JavaScript languages.  The developed museum, then, was used to experiment with the sample for data gathering. Statistics used in data collection were mean, standard deviation and t-test for dependent samples.Results of the study found the following. 1) The virtual local museum was designed to present in                      5 sections: (1) community context, (2) history of Lao ethnicities of Chee and Khrang, (3) local weaving, (4) use of hand-woven fabrics, (5) dyeing the fabrics among the Lao ethnicities of Chee and Khrang. 2) The result of evaluating the accuracy of content from the experts found that the quality of content gained a mean score of 4.42 which was at high level, while the quality of design gained a high mean score of 4.14. 3) The result of evaluating the satisfaction of having the ability to use it found a gained mean score of 4.30 which was at high level. 4) The result of evaluating the efficiency of instructional media that affects learning from the administration of pretest and posttest to the sample found that the mean score gained after learning was 17.75. It was better than the mean score of 9.67 gained before learning.

    Keywords : Local Museum ; Virtual Local Museum ; Lao Ethnicity of Chee ; Lao Ethnicity of Khrang ; Local Hand-woven Fabrics

      

    Download Full Paper: