Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ผลของโปรแกรมการเคลื่อนไหวทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนบ้านดอนยานาง จังหวัดนครพนม
Effects of Physical Activity Program on Health-Related Physical Fitness among Grade 4-6 Students in Ban-Don-Yanang School, Nakhon Phanom Province

[เปิดดู 131 ครั้ง]

ศักดิ์ชัย ศรีสุข, จิระชัย คาระวะ, วัฒนพงษ์ คงสืบเสาะ, สุจิรา หงษามนุษย์, สุทธิรักษ์ วิเศษสังข์ และ นริศรา เปรมศรี6

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายที่มีต่อสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับ
    สุขภาพในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนดอนยานาง จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถม
    ศึกษาตอนปลาย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านดอนยานาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
    จำนวน 37 คน รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายสำหรับ
    นักเรียนชั้นประถมศึกษา และแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้ดำเนินการฝึกเป็นระยะเวลา
    4 สัปดาห์ๆ ละ 4 วันๆ ละ 60 นาที สถิติที่ใช้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการเปรียบเทียบ
    ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพก่อนการฝึกและหลังการฝึก ด้วยการทดสอบที
    แบบกลุ่มไม่อิสระ (Dependent Samples t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          ผลการวิจัยพบว่า การใช้โปรแกรมกิจกรรมการเคลื่อนไหวทางกายเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ มีผลทำให้สมรรถภาพทางกาย
    ที่สัมพันธ์กับสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีพัฒนาการที่ดีขึ้นในด้านความอดทนของกล้ามเนื้อ แต่ความคล่องแคล่วว่องไว
    ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถติ ิที่ระดับ .05 สว่ นสมรรถภาพทางกายด้านความแขง็ แรงของกล้ามเนื้อ ความอ่อนตัว ความทนทานของระบบ
    ไหลเวียนโลหิตและการหายใจ มีพัฒนาการดีขึ้นแต่ไม่แตกต่างกัน

    คำสำคัญ : สุขภาพ ; สมรรถภาพทางกาย ; การเคลื่อนไหวทางกาย

  • Abstract
  •     The purpose of this study was to investigate the effects of physical activity program on health-related physical fitness among grade 4-6 students in Ban-Don-Yanang School, Nakhon Phanom province. A sample used in the study as selected by purposive sampling was 37 grade 4-6 students who were enrolled in the first semester of academic year 2017 at Ban-Don-Yanang School under the Office of Primary Education Service Area 1. The study employed a quasi-experimental design. The instruments used in the study comprised a physical activity program for primary school students and a test of health-related physical fitness. Data was collected from the implementation of training for a period of 4 weeks, 4 days a week, 60 minutes a day. Statistics used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. The comparison of a difference between the mean scores of the tests of health-related physical fitness administered before and after the physical activity training by using a t-test for dependent samples. The statistical significance was predetermined at the .05 level.
         Findings of the study revealed that the 4-week physical activity program had resulted in improved health-related physical fitness among grade 4-6 students in terms of muscle endurance, but agility decreased at the .05 level of statistical significance. Physical fitness in the aspects of muscle strength, flexibility, durability of the circulatory system and breathing were improved but not found significantly different.

    Keywords : Health ; Physical Fitness ; Physical Activity

    Download Full Paper: