Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม ในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

[เปิดดู 141 ครั้ง]

เกรียงไกร ผาสุตะ และ กัญลยา มิขะมา

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการด้านการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม  2) เงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม และ 3) ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในพื้นที่วิจัยคือ บ้านโนนสะอาด ตำบลนางัว อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เก็บข้อมูลจากครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม จำนวน 20 ครัวเรือน ด้วยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสนทนากลุ่ม การสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการด้านการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม แบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ 1. ช่วงก่อนการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร มีการผลิตผ้าย้อมครามเอาไว้ใช้ภายในครัวเรือน 2. ช่วงการจัดตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน ได้เกิดการรวมกลุ่มด้านการผลิตผ้าไหมและผ้าฝ้ายย้อมครามขึ้น มีการเปลี่ยนวิถีการผลิตมาเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นสินค้า โดยการได้รับการสนับสนุนเงินจากกองทุนหมุนเวียนจากรัฐบาล และ 3. ช่วงปัจจุบัน ครัวเรือนเริ่มผลิตสินค้าที่หลากหลายขึ้นมาโดยมีการศึกษากลไกด้านการตลาด บางครัวเรือนเปลี่ยนมาเป็นผู้รับสินค้าในชุมชนไปขายให้พ่อค้าคนกลาง บางครัวเรือนเปลี่ยนแปลงบทบาทตนเองมาเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า และเริ่มมีการใช้กระแสโซเชียลออนไลน์ประชาสัมพันธ์สินค้า 2) เงื่อนไขที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม มี 5 ประการ คือ นโยบายรัฐ กระแสทุนนิยม ฤดูกาล/ภัยธรรมชาติ การถือครองที่ดิน ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ และ 3) ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของครัวเรือนเกษตรกรผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม ได้แก่ ทักษะด้านการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ ทักษะด้านเทคนิคการผลิต และทักษะด้านการศึกษาและการเรียนรู้ โดยอาศัยความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการทุนต่างๆ ที่มีอยู่มาเป็นยุทธวิธีในการปรับตัวให้ครอบครัวของตนเองอยู่รอด มีรายได้เพิ่มขึ้นของแต่ละครัวเรือน มีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความมั่นคงด้านการประกอบอาชีพ ลดการเดินทางไปทำงานนอกพื้นที่ ซึ่งสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในชุมชน

     คำสำคัญ  : การทอผ้าย้อมคราม ; ยุทธศาสตร์การดำรงชีพ ; ครัวเรือนผู้ผลิตผ้าทอย้อมคราม ; ผ้าย้อมคราม

  • Abstract
  •     The purposes of this study were to investigate: 1) the development of livelihood among farmers’ households producing woven fabrics dyed with indigo, 2) the conditions affecting livelihood among farmers’ households producing woven fabrics dyed with indigo, and 3) the strategy for livelihood among farmers’ households producing woven fabrics dyed with indigo. The study employed qualitative research methodology. The area for study was Ban Non Sa-aad village, Na Ngua sub-district, Nawah district, Nakhon Phanom province. Data were collected from 20 farmers’ households producing woven fabrics dyed with indigo through semi-structured interviews, focus group discussion and observation. Descriptive analysis was used to analyze the data.
        The study found the following. 1) Development of livelihood among farmers’ households who produced woven fabrics dyed with indigo was divided into 3 periods. 1. The period before the establishment of a group of farmers’ housewives. There was a production of indigo dyed fabrics for use in the households. 2. The period of establishing a community enterprise center. The silk and indigo-dyed fabric producers group was formed. The production process was changed to produce for export by receiving circulated support funds from the government. 3. The period at the current time. Households began to produce a wide range of products based on the investigation of market mechanisms. Some households switched to a product receiver in the community to sell to middlemen. Some households changed their role as a product distributor and began to use online social media for product public relations. 2) There were conditions affecting the livelihood of the farmers’ households who produced fabrics dyed with indigo, namely state policy, trends in capitalism, seasons/natural disasters, land tenure, and volatility of product prices. 3) Strategy for livelihood among farmers’ households who produce fabrics dyed with indigo includes skill in the acquisition of local wisdom, skill in creativity, skill in technique of production, and skill in study and learning. The strategy to adapt their families to survive is needed for having more income, having a better life, and having a stable career with no need to travel to work outside the area. It will, then, strengthen sustainability in the community based on knowledge and capability in the management of capital available.

    Keywords : Indigo Dyeing ; Living Strategy ; The Farmer Family ; Indio Dye

    Download Full Paper: