Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
A Causal Relationship Model of Factors Affecting Student Life Skills in Schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand

[เปิดดู 124 ครั้ง]

อรอนงค์ แสนคำ ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ วัลนิกา ฉลากบาง

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน  2) ตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ การวิจัยระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูแนะแนว และครูประจำชั้นในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 426 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนในโรงเรียน  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย  อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน การอบรมเลี้ยงดู บรรยากาศในชั้นเรียน อัตมโนทัศน์ของนักเรียน และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ส่วนทักษะชีวิตนักเรียนประกอบด้วย ตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเอง การคิดการตัดสินใจและแก้ปัญหา การจัดการอารมณ์และความเครียด และการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อัตมโนทัศน์ของนักเรียน มีอิทธิพลทางตรงที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ บรรยากาศในชั้นเรียน  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียน อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนตามลำดับ บรรยากาศในชั้นเรียนมีอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ อัตมโนทัศน์ของนักเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และการอบรมเลี้ยงดู โดยปัจจัยที่ข้างต้นสามารถร่วมกันอธิบายทักษะชีวิตนักเรียนได้ร้อยละ 79

    คำสำคัญ : รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ; ปัจจัยที่ส่งผลต่อทักษะชีวิตนักเรียน ; ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • Abstract
  •     The objectives of this study were: 1) to develop a causal relationship model of factors influencing student life skills, and 2) to verify the causal relationship model of factors influencing student life skills in schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand with the empirical data. The study was divided into 2 phases. The first phase was determining the conceptual framework of research, consisting of analyzing documents and related research, interviewing experts and studying the outstanding schools. The second phase was examining the research hypotheses. Data were collected using a rating scale questionnaire. Samples were school administrators, guidance teachers, and classroom teachers in schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand, totaling 426 people. Data analysis was done using statistics of frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient and the LISREL software in analysis of confirmatory factors and examination of goodness-of-fit between the hypothesized model and the   empirical data.
        The findings were as follows: 1) the causal relationship model of factors influencing student life skills in schools under the Offices of Primary Education Service Areas in the Northeast of Thailand comprised the influence of friends group, parenting, classroom atmosphere, students’ self-concepts, and achievement motivation. As for the student life skills, they consisted of awareness and self-esteem, decision making and problem solving, management of emotion and stress, and creating good relationships with others; 2) the developed model had consistency with the empirical data.  Students’ self- concepts had the highest direct influence on student life skills, followed by atmosphere in classroom, students’ achievement motivation, influence of friends group. Atmosphere in classroom had the highest influence on student life skills, followed by students’ self-concepts, achievement motivation, influence of friends group, and parenting.  The above factors could jointly explain 79 percent of student life skills.

    Keywords : Causal Relationship Model ; Factors Influencing Student Life Skills ; The Northeast

    Download Full Paper: