Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ตัวบ่งชี้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน : โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง
Indicators of Effective School Administrators for Basic Education Schools: A Structural Relationship Model

[เปิดดู 137 ครั้ง]

วัสนัย ล้นเหลือ และ วิโรจน์ สารรัตนะ

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อคัดสรรไว้ในโมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง 2) ทดสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีและผลงานวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ตรวจสอบค่าน้ำหนักองค์ประกอบขององค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อย และตัวบ่งชี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรวัดแบบประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล (LISREL)  
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้มีความเหมาะสมได้รับการคัดสรรไว้ในโมเดลทุกตัว โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับหรือสูงกว่า 3.00 และมีค่าสัมประสิทธิ์การกระจายเท่ากับหรือต่ำกว่าร้อยละ 20 2) โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจาก c2 = 1.48 df =1 P-value = 0.22 GFI = 1.00 และ AGFI = 0.97 และ RMSEA = 0.03 และ 3) องค์ประกอบหลักทุกตัว            มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.70 องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้ทุกตัวมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบสูงกว่าเกณฑ์ 0.30

  • Abstract
  •     The objectives of this study were : 1) to investigate the appropriateness of indicators for selection in the model, 2) to test the congruence of the model developed from theory and research with empirical data, and 3) to examine the factor loading of major factors, sub-factors, and indicators. The sample used was 700 basic education school administrators. The instrument used in data collection was a 5 point rating scale questionnaire which had a reliability coefficient of 0.93. Data were analyzed using a statistical package program and LISREL.
        The results were found as follows: 1) all indicators were appropriate to be selected in the model. Mean scores of the indicators were equal to or higher than 3.00 and had distribution coefficients equal to or less than 20%. 2) The model was congruent with the empirical data very well by considering the                 Chi-square value (c2) of 1.48, the degree of freedom (df) of 1, the statistical significance (P-value) of 0.22, the Goodness of Fit Index (GFI) of 1.00, the Adjusted Goodness of Fit Index (AGFI) of 0.97 and the Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) of 0.03. And 3) all major factors had a factor loading value higher than the criterion of 0.70. All sub-factors and all indicators had a factor loading value higher than the criterion of 0.30.

    Download Full Paper: