Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

อิทธิพลของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการศึกษาดนตรีตะวันตกในประเทศไทย

[เปิดดู 130 ครั้ง]

บพิตร เค้าหัน เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี และ ไพศาล สุวรรณน้อย

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของพระเจนดุริยางค์ที่มีต่อการศึกษาดนตรีตะวันตกที่มีรูปแบบการจัด    การเรียน การสอนแบบในระบบ แบบนอกระบบ และแบบตามอัธยาศัยในประเทศไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นวิธีการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ และศึกษาเอกสาร โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบวิเคราะห์คำศัพท์ดนตรี ได้ตรวจสอบความน่าเชื่อถือโดยวิธีตรวจสอบแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูล โดยจำแนกหมวดหมู่ตามประเด็นที่ศึกษา แล้วเชื่อมโยงข้อมูลให้สอดคล้องตามประเด็นที่ศึกษา หาความสัมพันธ์ของข้อมูล  หาความหมาย และตีความเพื่อหาข้อสรุปแต่ละประเด็น
        ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบในระบบ ได้แก่ อิทธิพลด้านนโยบาย และแนวทางในการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ อิทธิพลด้านการบัญญัติศัพท์เฉพาะทางดนตรีที่มีต่อสถาบันการศึกษาระดับการศึกษา                ขั้นพื้นฐาน และระดับอุดมศึกษาของไทย 2) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบนอกระบบ ได้แก่ อิทธิพลด้านการสอนดนตรี ปรับปรุงวงดนตรีของกรมศิลปากร และดุริยางค์ตำรวจ 3) อิทธิพลต่อการศึกษาดนตรีแบบตามอัธยาศัย ได้แก่ การเปิดโรงเรียนสอนดนตรีเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย การอบรมสั่งสอนทฤษฎีดนตรีและการประพันธ์เพลงให้ลูกศิษย์ ได้แก่ สง่า อารัมภีร และพันจ่าอากาศเอก มนัส ปิติสานต์

  • Abstract
  •     The objective of this study is to investigate the influence of Phra Chen Duriyanga on the formal, non – formal and informal education systems in Western Music in Thailand. The study used qualitative research methods by historical approach and documentary approach and interviewed two key informants. The instruments used in data collection were an interview guide and a music terminology analysis form. The reliability was checked by data triangulation method. Data were analyzed by classification according to the issues under study; and then the data were linked in a consistent manner.
        The findings were as follows: 1) Influence on music education in the formal system included influence on the policy and approaches to learning and teaching management of the Royal Thai Air Force Music School, as well as influence on the music word coinage for institutions of basic education and higher education in Thailand. 2) Influence on music education in the non-formal system included influence on teaching of music and improving the music band of Fine Arts Department and the Police Orchestra. 3) Influence on music education in the informal system included opening of the first private music school in Thailand, training and teaching music theory, and composing music for his students such as Sa-nga Aramphee and Chief Master Sergeant of the Air Force Manas Pitisan

    Download Full Paper: