Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การเปลี่ยนแปลงของวงซายวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
The Changes of Saing Waing Ensemble in the Republic of Union of Myanmar

[เปิดดู 137 ครั้ง]

วุฒิสิทธิ์ จีระกมล เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี และ เจริญชัย ชนไพโรจน์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปลี่ยนแปลงด้านเครื่องดนตรีของวงซายวายในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 2) การเปลี่ยนแปลงด้านบทบาทหน้าที่ของวงซายวายในพิธีกรรมและการแสดง โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามจากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และบุคคลทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับวงซายวายในเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ด้วยวิธีการสังเกต และการสัมภาษณ์  วิเคราะห์ข้อมูลตามความมุ่งหมายที่กำหนดและนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเครื่องดนตรีของวงซายวาย มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องคุณลักษณะของเครื่องดนตรี มีการเพิ่มเสียงใน ปัตวาย เจวาย มองซาย และมีการเพิ่มจำนวนเครื่องดนตรีสีโด่จากเคยมี 1-2 ลูก เป็น 4-7 ลูก เป็นการพัฒนาการบรรเลงของวงซายวายให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2) ด้านบทบาทหน้าที่ของวงซายวายในพิธีกรรม และการแสดง ในอดีตวงซายวายเป็นวงดนตรีที่ใช้ประกอบงานราชพิธี หลังสิ้นสุดการปกครองแบบกษัตริย์ วงซายวายที่ใช้บรรเลงประกอบงานราชพิธีก็สูญหายไป วงซายวายในขบวนแห่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในด้านพาหนะจากการเดินในขบวนแห่ของกษัตริย์ มาเป็นการบรรทุกบนเกวียนตามแบบชาวบ้าน และการบรรทุกบนรถยนต์ ในปัจจุบันมีการนำคีย์บอร์ดไฟฟ้ามาบรรเลงทำนองของเพลงแทนปัตวายในการแห่ และนำเครื่องดนตรีสากลมาบรรเลงร่วมกับวงซายวาย ด้านการเปลี่ยนแปลงบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงประกอบการแสดงสำหรับประชาชนทั่วไปได้นำวงดนตรี และบทเพลงแบบสากลมาร่วมบรรเลงควบคู่กับวงซายวาย เช่น การแสดงซัตปแว และอะเญ่ง ทั้งนี้เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง ส่วนการแสดงโย๊ะเต มีการเปลี่ยนแปลงจากเป็นการแสดงใน     ราชสำนัก มาเป็นการแสดงในโรงละครเพื่อใช้ต้อนรับนักท่องเที่ยว มีการเปลี่ยนรูปแบบการแสดงให้สั้นลง และยังคงใชัวงซายวายแบบดั้งเดิมเหมือนในอดีต 

  • Abstract
  •     The objectives of this study were to investigate: 1) the changes of musical instruments of Saing Waing Ensemble in the Republic of Union of Myanmar, 2) the changes of roles of Saing Waing Ensemble in rituals and performances. Field data were collected from observations and interviews with knowledgeable individuals, practitioners, and general persons involved with Saing Waing Ensemble in Mandalay, Republic of Union of Myanmar. Data were analyzed according to the given objectives and the findings of study were presented with descriptive analysis.
         Findings of the study were as follows: 1) regarding to the musical instruments of Saing Waing Ensemble. There were changes in physical characters. Tones were added in Pat Waing, Kyei Waing, Maung Saing; and a number of Si Do drums were added from 1-2 to 4-7 drums. These were done to improve the efficiency of Saing Waing performances. 2) Regarding to the roles of Saing Waing Ensemble in rituals and performances. In the past, Saing Waing Ensemble was used in royal rites. But after the end of the absolute monarchy, the Saing Waing Ensemble that performed the royal rites was no longer visible. Walking Saing Waing Ensemble in royal procession became a procession in village oxcarts or cars. At present, electric keyboards are brought to play the melody of songs instead of the Pat Waing drums in the procession; and Western musical instruments are brought to play together with the Saing Waing Ensemble. Concerning the changes of roles in Saing Waing Ensemble’s playing as an accompaniment of the performances for the general public, Western bands and tunes were joined to play along with the Saing Waing Ensemble, such as in “Zat Pwe and Angeint performances, to attract the attention of the audience. As for the Yoke-thay Pwe performance, there has been a change from a performance at the past royal court to one in the theater to welcome tourists. The duration of show is changed into a shorter time, and the traditional Saing Waing Ensemble is still in use just like the one in the past.
      

    Download Full Paper: