Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานและภาวะโภชนาการของในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
The Relationship between Knowledge as Well as Behavior of Consuming Sugary Snacks and Drinks and Nutritional Status of Junior High School Students in Mueang District, Ratchaburi Province

[เปิดดู 134 ครั้ง]

อภิญญา อุตระชัย และกริช เรืองไชย

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความรู้การบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวาน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวาน 3) เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และพฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานและภาวะโภชนาการ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในเขตอำเภอเมืองจังหวัดราชบุรี จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามวัดความรู้ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวาน แบบประเมินภาวะโภชนาการ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

        ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้เกี่ยวการบริโภคขนมเครื่องดื่มรสหวานทั้งภาพรวมและรายด้านส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ 7.00  2) พฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เกณฑ์น้ำหนักตามส่วนสูงพบว่ากลุ่มตัวอย่างท้วมถึงอ้วนร้อยละ 26.94 เริ่มอ้วนร้อยละ 11.39 กลุ่มตัวอย่างที่มีน้ำหนักตามอายุค่อนข้างมากและมากร้อยละ 26.39 กลุ่มตัวอย่างที่ค่อนข้างเตี้ยและเตี้ยร้อยละ 23.06  3) ความรู้เกี่ยวการบริโภคขนมเครื่องดื่มรสหวานและพฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานมีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05    และผลการศึกษาในครั้งนี้ ครู ผู้ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบในการส่งเสริมความรู้และพฤติกรรมการบริโภคขนมและเครื่องดื่มรสหวานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน

  • Abstract
  •     This descriptive research had the following objectives for exploration: 1) to study knowledge of consuming sugary snacks and drinks, 2) to study behavior of consuming sugary snacks and drinks, and 3) to study the relationship between knowledge as well as behavior in consuming sugary snacks and drinks and nutritional status. A sample used was 360 junior high school students in the Mueang district area, Ratchaburi province. The tools used in data collection were a knowledge questionnaire, a questionnaire asking behavior in consuming sugary snacks and drinks, and a form for assessing nutritional status. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, percentage and Pearson’s correlation coefficient.

        The results found that: 1) students’ knowledge of consuming sugary snacks and drinks as a whole and each aspect gained a mean score lower than the criterion of 7.00; 2) their behavior of consuming sugary snacks and drinks as a whole and each aspect gained a mean score at high level. The weight criteria based on height found that 26.94% of the sample had their shapes ranging from plump to obese and that 11.39% started to have body fat. The weight criteria based on age found that 26.39% of the sample had their weights ranging from rather high to high and that 23.06% were from rather short to short; 3) knowledge as well as behavior of consuming sugary snacks and drinks had significant relationship with nutritional status at the .05 level. Teachers, parents and related agencies can use this information to promote knowledge and behavior of consuming sugary snacks and drinks correctly and appropriately for overweight protection.

    Download Full Paper: