Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคม และชุมชน) ในบริบทของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
Development of an Integrated Three-Party (Health, Social and Community) Home Visit Services for Elderly People in the Context of Pua Crown Prince Hospital, Nan Province

[เปิดดู 120 ครั้ง]

ไพจิตรา ล้อสกุลทอง ณัฐภร ประกอบ และ วรัชญา ไชยศิลป์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยเชิงปฏิบัติการประสานความร่วมมือนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคม และชุมชน)พื้นที่ศึกษาคือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลศิลาแลงในบริบทความรับผิดชอบของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2556–พฤษภาคม 2558 ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ รพ.สต.ศิลาแลง จำนวน 7 คน รพร.ปัว 2 คน เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลศิลาแลง จำนวน 7 คน ประธานผู้สูงอายุ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 104 คน โดยบันทึกภาคสนาม สังเกตแบบมีส่วนร่วม และใช้แบบประเมินความต้องการดูแลระยะยาว ของผู้สูงอายุสำหรับ 3 ภาคี (ชุมชน/ท้องถิ่น สุขภาพและสังคม) 2) ระยะพัฒนาบริการเก็บข้อมูลจาก เจ้าหน้าที่ รพ.สต. 2 คน รพร.ปัว 1 คน เจ้าหน้าที่เทศบาล 2 คน ประธานชมรมผู้สูงอายุ 7 คน กำนัน 1 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 86 คน อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 28 คน ใช้วิธีบันทึกภาคสนาม การสนทนากลุ่ม และ 3) ระยะประเมินผลร่วมกันระหว่าง 3 ภาคี จำนวน 140 คน ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis ) 

        ผลการศึกษา ระยะที่ 1 ยังพบช่องว่างของนโยบาย สู่การปฏิบัติ คือการพัฒนาบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคม และชุมชน) ดังนั้นในระยะที่ 2 ขั้นตอนของการพัฒนาระบบบริการ ประกอบด้วย 1) การสร้างทีมงานวิจัยในพื้นที่ 2) การสร้างความตระหนัก 3) การจัดตั้งศูนย์กลางบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 ภาคี 4) ประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการบริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ 5) จัดทำสุนทรียสนทนา (Dialogue) 6) ดำเนินการลงพื้นที่ให้บริการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุแบบบูรณาการ การศึกษาระยะที่ 3 ประเมินผลสะท้อน ข้อค้นพบชี้ให้เห็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1) เกิดบริการและทีมเยี่ยมบ้านแบบบูรณาการโดยสามภาคีในการให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน 2) มีแนวทางปฏิบัติในการดำเนินการร่วมกัน ระหว่าง เทศบาล รพ.สต.ศิลาแลง ภาคีภาคประชาชน และ รพร.ปัว และ 3) ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและมีปัญหาซับซ้อนต้องการการพึ่งพาได้รับบริการการดูแลระยะยาวที่บ้าน ทั้งบริการสุขภาพและสังคม เช่น การปรับสภาพที่อยู่อาศัย ห้องส้วมจากแบบนั่งยองเป็นแบบชักโครก ข้อเสนอแนะ ยังต้องการการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยฐานข้อมูลสุขภาพผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่ร่างกายเสื่อมถอยและตามสภาพความเจ็บป่วย ดังนั้นการนำใช้บริการนี้ในบริบทอื่นๆ ควรปรับใช้แนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ต่อไป 

  • Abstract
  •     This participatory action research had the objective for exploration to develop an integrated three-party (health, social and community) home visit services for elderly people. The area of study was Sila Laeng Sub-district Health Promotion Hospital (SLSHPH) in the context of social responsibility of Pua Crown Prince Hospital (PCPH), Nan province. The study conducted during February 2013 to May 2015 comprised 3 phases. 1) Phase 1 – situational analysis. The research participants consisted of 7 officers of SLSHPH, 2 officers of PCPH, 7 officers of Sila Laeng Sub-district Municipality and 104 people selected from chairmen of the elderly clubs, sub-district headmen, village headmen, village health volunteers, and elderly care volunteers. This phase was conducted by field record, participatory observation, and assessment of elderly people’s needs of long-term home visit services from three parties (health, social and community). 2) Phase 2 – development of services in data collection. Using field notes and writing a record of group discussion, the following people were in service: 2 officers of SLSHPH, 1 officer of PCPH, 2 officers of Sila Laeng Sub-district Municipality, 7 chairmen of the elderly clubs, 1 sub-district headman, 86 village health volunteers, and 28 elderly care volunteers. And phase 3 – a three-party joint evaluation held. This phase was conducted using 140 people. Descriptive statistics were used for quantitative data; qualitative data were analyzed through content analysis.

         The results showed that the study in phase 1 found a gap between policy and practice in the development of an integrated three-party (health, social and community) home visit services for elderly people. Therefore, in phase 2 the steps of developing the service system consisted of: 1) building a research team in the area, 2) raising awareness, 3) establishing an integrated center for collaboration between the three parties, 4) holding a workshop for planning an integrated home visit service for elderly people, 5) creating a dialogue, 6) conducting an integrated home visit service for elderly people. Of phase 3 on evaluating effects, the findings pointed to three issues, namely: 1) the services were available and provided by the integrated three-party home visit services for elderly people in the community; 2) there were guidelines for joint action between the municipality, SLSHPH, people’s party, and PCPH; and 3 elderly patients with chronic and complex problems required dependence on long-term care services at home in both health and social such as housing rehabilitation, and changing from the  toilet seat to a flush toilet. Suggestions also needed for continuous improvement, since the elderly health database had changed with the age of the bodies that declined and with the illness condition. Thus, the introduction of this service in other contexts should apply appropriate practices to each area.

    Download Full Paper: