Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาระบบบริการในการมีส่วนร่วมของชุมชนและทีมสหสาขาเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
Development of a Service System by Participation of the Community and Multidisciplinary Team through the Home-based Rehabilitation Nursing Program for Patients with Stroke

[เปิดดู 127 ครั้ง]

บรรณฑวรรณ หิรัญเคราะห์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 2) พัฒนาระบบบริการ HRNP Model โดยใช้กระบวนการการเสริมสร้างพลังอำนาจ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และ 3) ประเมินผลของโปรแกรม HRNP โดยการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ  การรับรู้ภาวะสุขภาพ และภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังการใช้ HRNP Model โดยผสมผสานทั้งวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต.ปากแพรก อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จำนวน 54 คน 2) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 44 คน ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงและ 3) ทีมสหสาขา จำนวน 19 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค้นหาและวิเคราะห์ปัญหา ระยะที่ 2  การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน Home-based Rehabilitation Program (HRNP Model) และระยะที่ 3 ประเมินผลของโปรแกรม HRNP วิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติที Paired t-test เพื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาอุปสรรคในการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผู้ป่วยส่วนมากไม่ได้รับบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ บริการที่ได้รับไม่ครบถ้วน ไม่ครอบคลุมกับสภาพปัญหาและความต้องการ ระบบการติดตามยังไม่ทั่วถึง ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความยากลำบากในการไปรับบริการที่โรงพยาบาล นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีความต้องการด้านกายอุปกรณ์และเศรษฐกิจ 2) การพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพที่บ้าน HRNP Model โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและทีมสหสาขา พบว่ามีประสิทธิภาพในได้ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและสามารถใช้ได้ผลดีมีความเป็นไปได้ในการนำสู่การปฏิบัติและ 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้โปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองก่อนและหลังได้รับโปรแกรมฯ  มีค่าเฉลี่ยของคะแนนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังจากให้บริการพบว่า ด้านภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง

     

  • Abstract
  •     This study aimed: 1) to analyze the problems and obstacles in the rehabilitation of the stroke patients, 2) to develop a home-based rehabilitation nursing program model of service (HRNP Model), 2) to utilize the empowerment process for enhancing the quality of life of stroke patients, and 3) to evaluate the HRNP program by comparison of quality of life related to health perception of health status, and by comparison of the complications of stroke patients before and after using the HRNP Model by combining both qualitative and quantitative methods. The informants comprised 3 groups: 1) a group of 54 village public health volunteers in Pa Phraek sub-district, Mueang district, Kanchanaburi province, 2) a group of 4 patients with stroke who were selected by purposive sampling, and 3) a group of multidisciplinary team members. The study was divided into 3 phases: phase 1 – search and analyze problems, phase 2 – develop an HRNP Model. The qualitative data were analyzed using content analysis, while the quantitative data were analyzed using statistics of frequency, percentage, standard deviation, and paired t-test for comparing the score of quality of life concerning health and the score of health status perception of patients with stroke.
       The results showed as follows: 1) problems and obstacles in the home-based rehabilitation of stroke patients at present showed that most of the patients have not received rehabilitation service. If any, the service is not fulfilled. It does not cover all the problems and needs. The tracking system is not complete. Stroke patients have difficulty in getting to the hospital. In addition, stroke patients have economic and orthosis/prosthesis needs. 2) Development of an HRNP Model by participation of the community and multidisciplinary team has been found to be efficient in the rehabilitation of stroke patients, and effective as well as possible to bring it into practice. And 3) comparison of the difference of mean scores of quality of life concerning health of the patients with stroke between before and after the implementation of the HRNP Model found that after the treatment the mean score was increased significantly at the .05 level. The comparison of the difference of mean scores of health status perception of the stroke patients between before and after the treatment found that the mean score decreased significantly at the .05 level; and after the provision of service, the complications of patients were found not severe.

    Download Full Paper: