Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
Development of a Health Care Model for Older People in the Community

[เปิดดู 135 ครั้ง]

อมร สุวรรณนิมิตร นงเยาว์ มีเทียน และ สุภาพร อาญาเมือง

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สถานการณ์ปัญหาและความต้องการในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  2) ศึกษาปัจจัยการสนับสนุนทางสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ 3) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้แนวคิดชุมชนเป็นฐาน ทุนทางสังคม และระบบเครือญาติ และ 4) ประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 385 คน ศึกษาระหว่างเดือนมิถุนายน 2559-เดือนมีนาคม 2560 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบวัดก่อนและหลังการปฏิบัติการ ค่าความเชื่อมั่น 0.87 และ 0.79 ตามลำดับ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูล 40 คน และมีส่วนร่วมในระยะปฏิบัติการ 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
        ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อนจากการเจ็บป่วยเรื้อรัง มีความต้องการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม การเอาใจใส่จากผู้ดูแล 2) ปัจจัยสนับสนุนทางสังคม พบว่า ภาพรวมผู้สูงอายุได้รับการสนับสนุนในระดับสูง ยกเว้นด้านการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมและเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนสังคม 3) รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่ การสนับสนุนการเข้าร่วมกลุ่มทางสังคม และการเสริมพลังอำนาจผู้ดูแล และ 4) ผลการประเมินรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมและการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแลในภาพรวมไม่เปลี่ยนแปลง สรุปว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในบริบทชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท

  • Abstract
  •     This participatory action research aimed: 1) to investigate the context, problematic situation and   need in health care among older people, 2) to examine social support factors in care of older people, 3) to develop a health care model for older people in the community based on community-based concepts, social capital and relative system, and 4) to assess the health care model for older people in the community. A sample was 385 older people. The study was conducted between June 2016 and March 2017. Qualitative data were collected using a social support questionnaire and a test before and after the treatment, whose reliability coefficients were 0.87 and 0.79, respectively. Qualitative data were collected from focus group discussions and in-depth interviews of 40 informants of all the 100 participants in the operational stage. Quantitative data were analyzed using descriptive statistics and t-test. Qualitative data employed content analysis.
        Findings of the study were as follows. 1) Most older people had complex health problems from chronic illness. They needed participation in social activities and attention from the caregivers. 2) The overall social support factor gained by older people was at high level except for its aspect of promoting participation and being part of the social community. 3) The health care model for older people in the community included social group participation support and empowerment of caregivers. And 4) results of the assessment of the health care model for older people in the community showed that the level of participation and being part of the social community increased significantly, while the caregivers’ capacity enhancing as a whole did not changed. In conclusion, the model developed can be used to care for older people in the semi-urban and semi-rural community context.

    Download Full Paper: