Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน
Local Wisdom in the Mental Health Care among Older People Living in Isan Cultural Society

[เปิดดู 125 ครั้ง]

มะยุรี วงค์กวานกลม

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาใช้ในการดูแลสุขภาพจิตของผู้สูงอายุชาวไทยอีสาน ใช้ระเบียบการวิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้สูงอายุในชุมชนชนบท จังหวัดนครพนม จำนวน 25 คน และหมอพื้นบ้าน จำนวน 20 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลตามแนวทางการวิเคราะห์ของโคไลซี
        ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในสังคมวัฒนธรรมอีสาน ยังคงมีการใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการดูแลสุขภาพจิตใน 3 ลักษณะ ประกอบด้วย 1) “ผูกเสี่ยว” สร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม เป็นการนำประเพณีผูกมิตรของชาวอีสานมาใช้ในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ทำให้ผู้สูงอายุมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม มีที่ปรึกษา สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ และมีความสุขในการดำรงชีวิต 2) “เหยา” เยียวยาจิตใจ เป็นการนำพิธีกรรมพื้นบ้านมาใช้ในการบำบัดรักษาปัญหาสุขภาพจิต ช่วยผ่อนคลายความเครียด ลดความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า รู้สึกปลอดภัย มีจิตใจที่มั่นคง มีความหวัง และมีพลัง และ 3) “บายศรีสู่ขวัญ” คืนสู่สุขภาวะทางจิต เป็นการนำพิธีกรรมพื้นบ้านมาใช้ในการฟื้นฟูสุขภาพจิต ช่วยให้มีขวัญกำลังใจ มีคุณค่าในตนเอง มีความหวัง สบายใจ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต ผลการศึกษาครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพจิตที่สอดรับกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมของผู้สูงอายุชาวไทยอีสานในยุคปัจจุบัน

  • Abstract
  •     The aim of this study is to explore the experience of using local wisdom in the mental health care of older people in northeastern Thailand by means of phenomenological study approach. The primary data contributors were 25 older people in rural communities, Nakhon Phanom province and 20 traditional healers. All were selected by judgmental sampling. Data collection was done by in-depth interview, focus group discussion in conjunction with participatory observation, and field recording. Analysis of data was conducted according to the Colaizzi’s method.
        Findings of the study revealed that older people in Isan cultural society still use three main types of local wisdom in mental health care as follows. 1) ‘Phuk Siew’ ritual which helps with creating social immunity. It is a use of Isan people’s friendliness tradition to promote and prevent mental health  problems. Older people, then, have a social support source and consultant, and are able to adapt to change in the old age and have happiness in living a life. 2) ‘Yao’ ritual which is a therapeutic ceremony performed for the cure of souls. It helps relieve stress, reduce anxiety and depression symptoms, feel safe, have a stable heart, have hope, and have energy. 3) ‘Bai Sri Su Khwan’ ritual which is a ceremony of returning to the mental health. This local ceremony is used to restore mental health, help with morale, create healthy self-esteem, create hope, get peace of mind, and have confidence in living a life. The results of this study reflect the importance of applying local wisdom in mental health care in line with the socio-cultural context of the northeastern Thailand’s older people at the present time.

    Download Full Paper: