Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาอาหารว่างและการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
The Relationship between Snack Seeking and Nutritional Health Promotion among Fourth-Sixth Grade Students in the Klong Luang District Area, Pathum Thani Province

[เปิดดู 124 ครั้ง]

กริช เรืองไชย และ อภิญญา อุตระชัย

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการแสวงหาอาหารว่าง การส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และความสัมพันธ์ระหว่างการแสวงหาอาหารว่างกับการส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 584 คน สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยวิธีการจับสลากเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการแสวงหาอาหารว่าง แบบบันทึกกิจกรรมทางกายและแบบบันทึกการบริโภคอาหาร โดยใช้โปรแกรม INMUCAL-Nutrients คำนวณปริมาณสารอาหาร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
        ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีการแสวงหาอาหารว่าง ทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ พฤติกรรมหลังการซื้ออาหารว่าง และการรับรู้ในความต้องการอาหารว่าง การรับรู้กิจกรรมทางด้านร่างกายประเภทกิจกรรมเบาเป็นร้อยละ 78.31 ของกิจกรรมในชีวิตประจำวัน รองลงมาคือกิจกรรมหนัก ร้อยละ 16.49 การปฏิบัติเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านร่างกายแบบต่อเนื่องเฉลี่ย 5.57 นาที/วัน ส่วนการบริโภคอาหารว่างของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 323.56 กรัม/วัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มเครื่องดื่มรสหวาน ร้อยละ 87.17 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 463.16 มิลลิลิตร/วัน รองลงมาคือกินขนม ทอด ขนมกรุบกรอบ ร้อยละ 81.42 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 92.44 กรัม/วัน และดื่มนม ร้อยละ 71.77 มีค่าเท่ากับ 202.23 มิลลิลิตร/วัน การแสวงหาข้อมูลอาหารว่างมีความสัมพันธ์กับกิจกรรมทางด้านร่างกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.64, 95% CI=0.50-0.74) การรับรู้ในความต้องการอาหารว่างมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.45, 95% CI=0.40-0.50) และพฤติกรรมหลังการซื้ออาหารว่างมีความสัมพันธ์กับการบริโภคอาหารว่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=0.38, 95% CI=0.31-0.44)

  • Abstract
  •     The objective of this study was to investigate snack seeking, nutritional health promotion, and the relationship between snack seeking and nutritional health promotion. A sample was 584 fourth-sixth grade students in the Klong Luang district area, Pathum Thani province, who were selected by cluster random sampling. The instruments used in the study were a questionnaire asking snack seeking, a physical activity record form, and a dietary intake record form. The INMUCAL–Nutrients program was used to calculate the nutrient intake. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, percentage, Pearson’s product moment correlation coefficient.
         The findings showed that the fourth-sixth grade students seeking for snacks as a whole and each aspect was at high level such as behavior after buying snacks and perception of snack needs. Of them, 78.31% perceived the light physical activity as their daily activity, followed by heavy activity as perceived by 16.49% of them. The average continuous practice of physical activity was 5.57 minutes/day. The consumption of snacks among sample students was of 323.56 g/day on average. Of the sample students, 87.17% drank sweetened beverages with an average of 463.16 ml/day, while 81.42% of them ate fried pastry or crisps with an average of 92.44 g/day. Of them, 71.77% had milk with an average of 202.23 ml/day. The seeking for snack information was significantly correlated with physical activity (r = 0.64, 95% CL = 0.50-0.74) The perception of snack needs was significantly correlated with snack consumption ( r= 0.45, 95% CL – 0.40-0.50). And behavior after purchase of snacks was significantly correlated with snack consumption (r = 0.38, 95% CL = 0.31-0.44)

    Download Full Paper: