Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
Knowledge, Attitude and Practice in Obesity Prevention among Public Health Students, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Pathum Thani Province

[เปิดดู 122 ครั้ง]

ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์ และ ลัดดาวัลย์ กงพลี

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 120 คน การศึกษาวิจัยครั้งนี้ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วน ทัศนคติต่อโรคอ้วน และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วน และมีค่าดัชนีสอดคล้องของเครื่องมือทุกข้อคำถาม มีค่ามากกว่า 0.7 ค่าความเชื่อมั่นทุกด้านมากกว่า 0.8 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกและเก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง ซึ่งแจกแบบสอบถามทั้งหมด จำนวน 120 ฉบับ และ
    ได้รับกลับคืน จำนวน 120 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 สถิติที่ใช้วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล คือ โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ (Microsoft Excel) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
         ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 20.20 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 84.0 กำลังศึกษาระดับ ชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 48.4 สุขภาพของกลุ่มตัวอย่างในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการเจ็บป่วยเป็นบางครั้ง ร้อยละ 51.6 และส่วนใหญ่มีการรับข้อมูลข่าวสารจากอินเตอร์เนต ร้อยละ 73.2 2) ผลการศึกษาความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนพบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลาง อยู่ในช่วงร้อยละ 33.34–66.67 3) ผลการศึกษาทัศนคติต่อโรคอ้วนพบว่า ส่วนใหญ่มีทัศนคติต่อโรคอ้วนอยู่ในระดับปานกลางคือ โดยอยู่ในช่วง 25–34 คะแนน 4) ผลการประเมินการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนพบว่า ส่วนใหญ่มีการปฏิบัติตนอยู่ในระดับปานกลางโดยอยู่ในช่วง 4–7 คะแนน จากผลการศึกษาพบว่าความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นทางหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น มหาวิทยาลัย สาธารณสุขจังหวัด รวมไปถึงผู้ปกครองควรให้ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนแก่นักศึกษา เพื่อปลูกฝังให้เห็นถึงปัญหาความสำคัญของโรคอ้วน และสร้างทัศนคติอันนำไปสู่การปฏิบัติตนที่ถูกต้อง ตลอดจนกลุ่มนักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแผ่สู่ชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน

  • Abstract
  •      This descriptive study proposed to investigate knowledge, attitude and practice in obesity prevention among public health students, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Pathum Thani province. A sample used was 120 public health students, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, Pathum Thani province who were selected by stratified random sampling. The tool used was a questionnaire being divided into 4 parts: general information, knowledge about obesity, attitude toward obesity, and practice in obesity prevention. The consistency index values (IOC) to measure the validity of every item of the tool were higher than 0.7 and the reliability values of all the aspects were higher than 0.8. One hundred-twenty questionnaires were distributed and collected by the authors and of these all or 100% were returned. Data were analyzed using Microsoft excel program and descriptive statistics employed included frequency, mean, and percentage.
         The results showed as follows. 1) The average age of the sample was 20.20 years; most of them or 84.0% were female; 48.4% was studying in the third year; 51.6% had occasional illnesses in the past 6 months; and 73.2% got information from the Internet. 2) The result of study on obesity was found that most of them had knowledge about obesity at moderate level (33.34-66.67%). 3) The result of study on attitude toward obesity was found that most of them had attitude toward obesity at moderate level (25-34 score range). 4) The result of assessing practice in obesity prevention was found at moderate level with a score in the 4-7 range. All the results of knowledge, attitude and practice in obesity prevention were at moderate level. Therefore, the University, Provincial Public Health Office and parents should pay attention to increasing proper knowledge and correct information to students for good attitude, practice of obesity prevention and the students can bring the knowledge to disseminate in the community for good health promotion

     

    Download Full Paper: