Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็ง เขตอำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ Depression and Quality of Life among Cancer Patients In the Chaiyaphum District Area, Chaiyaphum Province
Depression and Quality of Life among Cancer Patients In the Chaiyaphum District Area, Chaiyaphum Province

[เปิดดู 126 ครั้ง]

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์ ฐาติมา เพชรนุ้ย และ ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยมะเร็ง 2) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง                              3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งอายุ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือกโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย  ข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของเบค และแบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ปวยมะเร็ง (Functional Assessment of Cancer Therapy – General : FACT-G) ค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมืออยู่ในระดับที่ยอมรับได้  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์ของสเปียร์แมน

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 60 ปี (S.D. =11.70) ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ผลการศึกษาภาวะซึมเศร้าพบว่า ร้อยละ 75.40 มีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับรุนแรง และมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.20) ภาวะซึมเศร้าและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rho = -0.68 , p-value <0.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้า                ในผู้ป่วยมะเร็งนั้นเป็นปัญหาที่สำคัญมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในประชากรกลุ่มนี้ การดูแลทางกายและการพัฒนารูปแบบการพยาบาลเพื่อบรรเทาความทุกข์ทางใจ ลดภาวะซึมเศร้า จะช่วยส่งเสริมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     

  • Abstract
  • This study aimed to investigate: 1) depression of cancer patients, 2) quality of life of cancer patients, 3) the relationship between depression and quality of life of cancer patients in the Chaiyaphum district area, Chaiyaphum province. A sample was 69 cancer patients aged 18 or over, who were selected by simple random sampling. The instruments used were a questionnaire consisting of general demography and Beck depression inventory (BDI: Thai version) and the Functional Assessment of Cancer Therapy-General (FACT-G). Reliability of each instrument was examined and results showed the acceptable values. Data analysis was conducted using frequency, percentage, mean, standard deviation, and Spearman’s rank correlation coefficient.

    Findings of the study showed as follows. Most of the sample respondents were females aged 60 on average (S.D. = 11.70), had occupation as a farmer; earned an average income per month of 5,001-10,000 baht. Out of 100, 75.40 respondents had severe depression and had quality of their lives at moderate level (65.20%). Depression and quality of life of cancer patients were negatively correlated at moderate degree of the .01 level of significance (rho = -0.682, p-value <0.01). The findings indicate that depression in cancer patients is a major problem. There is a correlation with the quality of life in this population. Physical care and development of nursing patterns to relieve mental distress and to reduce depression can help promote a better quality of life among the cancer patients.      

    Download Full Paper: