Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลคนพิการและครอบครัวในระดับบริการปฐมภูมิ ร่วมกับสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย
Advanced Nursing Practice to Care for People with Disabilities and Their Families at Primary Service Level From Multi-professional Collaboration and Networking

[เปิดดู 130 ครั้ง]

ปิยรัตน์ ชูมี กีรติ กิจธีระวุฒิวงษ์ และ ลักคณา บุญมี

  • บทคัดย่อ
  •      ปัจจุบันประเทศไทยนับวันมีจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กลุ่มคนพิการในชุมชนเป็นกลุ่มที่มีปัญหาซับซ้อนและมีข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการของรัฐ บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดงานวิจัยประสบการณ์ และข้อเสนอแนะการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงในการดูแลคนพิการและครอบครัวในระดับบริการปฐมภูมิร่วมจากสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ คือ1) การศึกษาหาความรู้ความเข้าใจด้านคนพิการและครอบครัวจากวรรณกรรมและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2) การรวบรวมและจัดระบบฐานข้อมูลคนพิการให้ทันสมัย  3) การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตนเอง บริบทชุมชน สหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  4) การลงพื้นที่จริง ค้นหาและศึกษาวิจัยข้อมูลคนพิการและครอบครัว 5) การดึงการมีส่วนร่วมของคนพิการ ครอบครัว ชุมชน ผู้ให้การดูแลจากสหวิชาชีพและภาคีเครือข่าย 6) การทดลอง แล้วมีการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการดูแลคนพิการและครอบครัวแบบองค์รวม 7) การพัฒนาระบบบริการคนพิการและครอบครัวในการรับบริการที่สถานบริการระดับปฐมภูมิเชื่อมโยงไปยังสถานบริการระดับตติยภูมิ การปฏิบัติตามขั้นตอนนี้ส่งผลให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีภาวะซึมเศร้าลดลง และได้สิทธิประโยชน์ตามกฎหมายด้านสิทธิการรับบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ สิทธิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ และสิทธิอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ครอบคลุมมากขึ้น

  • Abstract
  •     Nowadays, Thailand has a growing number of people with disabilities. People with disabilities in the community have complicated problems and have limited access to government services. This article  aims to present the concept of research, experience and suggestions for advanced nursing practice to care for people with disabilities and their families at primary service level from multi-professional collaboration and networking, which consists of the following steps: 1) examining knowledge and understanding about people with disabilities and their families from literature and related people, 2) collecting and organizing an updated database system of people with disabilities and their families,              3) analyzing the strengths and weaknesses of the disabled people and their families per se, the community context, multi-professional collaboration and networking, 4) actual practicing in fieldwork, searching and examining data of the disabled and their families, 5) drawing the participation of disabled people, their families, community, care providers from multi-professional collaboration and networking,     6) conducting an experiment and then improving and revising the holistic care model for the disabled and their families, and 7) developing a service system for the disabled and their families in receiving service from the primary care facilities linked to the tertiary care facilities. Practice of this procedure results in a better quality of life for people with disabilities, a decrease of depression, a benefit and legal right in receiving basic medical services, and a right to get medical rehabilitation. Other rights that should be available in congruence with the context in the area are required to meet the disabled and their families’ more comprehensive needs.

    Download Full Paper: