Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้ปัวต้นแบบระบบบริการการดูแลระยะยาวภายใต้บริบทของ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชปัว จังหวัดน่าน
Development of Integrated Health Promotion Center for Older People In the Community by Using the Pua Long Term Care Service System Model Within the Pua Crown Prince Hospital Context, Nan Province

[เปิดดู 134 ครั้ง]

ณัฐภร ประกอบ ไพจิตรา ล้อสกุลทอง สมฤทธิ์ เนตรทิพย์ และ บุญถี่ ลือยศ

  • บทคัดย่อ
  •       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน 2) ศึกษากระบวนการพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้ปัวต้นแบบระบบบริการการดูแลระยะยาว และ 3) ศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนโดยทีมงานบูรณาการ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคมและชุมชน) กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคม และชุมชน) จำนวน 145 คน เครื่องมือ การวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความต้องการแบบ 3 ภาคี เก็บรวบรวมข้อมูล ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และ               สนทนากลุ่ม ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล จดบันทึกและลงรหัสข้อมูล มาวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพ แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนบรรยายผลและข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัย

         ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน จากการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า ผู้สูงอายุขาดศูนย์กลางบูรณาการทำงานร่วมกันระหว่าง 3 ภาคี จนเกิดการพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยใช้ปัวต้นแบบระบบบริการการดูแลระยะยาว 2) กระบวนการพัฒนาศูนย์กลางบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนโดยใช้ปัวต้นแบบระบบบริการการดูแลระยะยาว เกิดจากการสร้างทีมนักวิจัยในพื้นที่ การเห็นแบบอย่างที่ประสบผลสำเร็จ การสร้างความตระหนัก การระดมทุนในการพัฒนา การแต่งตั้งคณะทำงานศูนย์ การร่วมจัดบริการซึ่งมี 5 ขั้นตอน คือ 1. ประชุม เพื่อสร้างความเข้าใจแนวคิด 2. ดำเนินการเปิดศูนย์ฯ 3. ปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างทีม 3 ภาคี 4. การนำผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังที่มีภาวะพึ่งพิงด้านกิจวัตประจำวัน ที่ขาดคนดูแล มาร่วมสนทนากัน  5. ลงมือปฏิบัติ การสะท้อนผลการทำกิจกรรม 3) ระยะประเมินผล การส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนโดยทีมงานบูรณาการ 3 ภาคี (สุขภาพ สังคมและชุมชน) พบว่าผู้สูงอายุเข้าถึงการดูแลการสร้างเสริมสุขภาพในชุมชน และมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

  • Abstract
  •      The objectives of this study were: 1) to investigate the development of integrated health promotion center for older people in the community, 2) to examine the process of developing the integrated health promotion center for older people in the community by using the Pua Long Term Care Service System Model, and 3) to inquire into health promotion for older people in the community by the 3-party integration team (health, social and community). The target group used in the study included 145 officials who were responsible for work concerning older people assigned by the 3-party team (health, social and community). The instruments used were an interview guide and a form for assessing needs of the 3-party team type. Data were collected using in-depth interview and focus group discussion. Data were checked for accuracy, recorded and encoded. They were analyzed according to the conceptual framework of qualitative research and then presented in form of describing the results and findings of the study.

         Findings were as follows: 1) The development of integrated health promotion center for older people in the community. From analysis of the situation, it was found that older people lacked the integrated health promotion center for working together between the 3 parties. That led to the development of it by using the Pua Long Term Care Service System Model. 2) The process of developing the integrated health promotion center for older people in the community by using the Pua Long Term Care Service System Mode. It occurred from creating a researcher team in the area, seeing examples of success, raising awareness, fundraising for development, appointing the center’s working group, and providing joint services. The process comprised 5 steps: 1. Hold a meeting to build an understanding of the concept, 2. Open the center, 3. Work together among the team of 3 parties, 4. Bring older people with chronic illness conditions, who must rely on others of daily routine, to join the conversation, and 5. practice and reflect on the results. 3) The evaluation period of health promotion for older people in the community by the integrated 3-party team (health, social and community). It was found that the older people had access to community health care and got better health.

    Download Full Paper: