Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

พฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์
Safe Food Handling Behavior of Pregnant Women

[เปิดดู 134 ครั้ง]

เกสรา ศรีพิชญาการ วายุรี ลำโป และ ยุพิน เพียรมงคล

  • บทคัดย่อ
  •      การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีตั้งครรภ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 200 ราย ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตามสะดวกคืออยู่ในช่วงที่มีการเก็บข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล ในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน 2559 โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดพฤติกรรมเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ (ค่าความสอดคล้องภายใน = 0.83 ค่าความเชื่อมั่นจากการทดสอบซ้ำ = 0.70) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

    ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์เท่ากับ 71.64 คะแนน/100 คะแนน (S.D. = 8.69) จากการแบ่งระดับคะแนนพฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์เป็น 5 ระดับคือ ต่ำมาก ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก คะแนนพฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์จัดอยู่ในระดับสูง ด้านที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ การปรุงสุก (สูงมาก) รองลงมาคือด้านความสะอาด (สูง) การใช้วัตถุดิบปลอดการปนเปื้อน (สูง) การแยกอาหารดิบและสุก (ปานกลาง) และการรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะ (ปานกลาง) เนื่องจากคะแนนพฤติกรรมการเตรียมอาหารปลอดภัยของสตรีตั้งครรภ์ยังไม่ถึงระดับสูงมาก จึงควรมีการให้สุขศึกษาเรื่องการเตรียมอาหารปลอดภัยแก่สตรีตั้งครรภ์ โดยให้ความสำคัญกับด้านการรักษาอาหารในอุณหภูมิที่พอเหมาะเนื่องจากมีคะแนนต่ำที่สุดและอากาศร้อนในประเทศไทยทำให้อาหารบูดเสียได้ง่าย รวมทั้งแก้ไขความเข้าใจผิดเรื่องการรับประทานผักดิบ

  • Abstract
  •     This study aimed to explore safe food handling behavior (SFHB) of pregnant women. The sample was 200 pregnant women in Chiang Mai recruited through a convenience sampling technique; that is, they were available while collecting data. Data were collected in May-June, 2016, using a personal data questionnaire and a test for pregnant women’s safe food behavior (internal consistency reliability = 0.83, test-retest reliability = 0.70). The obtained data were analyzed using descriptive statistics.

        The results indicated that a mean score of SFHB was 71.64/100 scores (S.D. = 8.69). The SFHB scores were divided into 5 levels of very low (VL), low (L), moderate (M), high (H), and very high (VH). The SFHB score was at the high level. The highest score was found to be the dimension of cooking food thoroughly (VH), followed by cleanliness (H), using non-contaminated raw materials (H), separating raw and cooked food (M),   and keeping food at the appropriate temperatures (M). Since the SFHB score did not reach the very high level, health education about safe food handling should then be provided to pregnant women. The educational topic should be prioritized on keeping food at the appropriate temperatures, as this dimension gained the lowest score level and the hot weather in Thailand may spoil food easily. In addition, misunderstanding about raw vegetable consumption should be corrected.

    Download Full Paper: