Archives

Nakhon Phanom University Journal 


ถอยกลับ

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิ
Development of a Care System for Stroke Patients Under the Context of Tertiary Care Hospital

[เปิดดู 126 ครั้ง]

สายนาท พลไชโย อมรวรรณ มาแสง และ บังอร เกิดแก้ว

  • บทคัดย่อ
  •     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ภายใต้บริบทของโรงพยาบาลตติยภูมิระหว่างเดือนมกราคม 2559 – เดือนมกราคม 2560 ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 120 คน ผู้ดูแลหลัก 120 คน ผู้ให้บริการทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลตติยภูมิที่ศึกษา จำนวน 30 คน  ภาคีภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย  บุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาลชุมชน  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวม 60 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

        ผลการวิจัยพบว่า เกิดระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีมาตรฐานการดูแล เริ่มตั้งแต่กระบวนการคัดกรองผู้ป่วย การส่งต่อผู้ป่วยเข้ารับการดูแลในโรงพยาบาลเมื่อเกิดอาการ การดูแลรักษาโดยทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาล การใช้พยาบาลผู้จัดการรายกรณีในการบริหารจัดการการดูแล การพัฒนาทักษะการดูแลผู้ป่วยและผู้ดูแลหลัก การส่งต่อผู้ป่วยสู่การดูแลโดยชุมชน ทีมสหวิชาชีพเข้าร่วมกับหน่วยงานในชุมชนติดตามเยี่ยมเพื่อให้ความช่วยเหลือตามปัญหาและความต้องการ           แต่ละบุคคล และก่อให้เกิดประสิทธิผลทางคลินิก คือ อัตราการได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ (rt-PA) และความพึงพอใจของผู้ป่วยพร้อมญาติเพิ่มขึ้น การเกิดภาวะแทรกซ้อนก่อนจำหน่าย จำนวนวันนอน ค่าใช้จ่ายในการรักษา อัตราการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วันลดลง อย่างไรก็ตามยังคงต้องพัฒนาการดูแลเชิงรุกสู่บ้านโดยทีมสุขภาพและชุมชนเพิ่มขึ้น 

  • Abstract
  •     This participatory action research aimed to develop a care system for stroke patients under the context of tertiary care hospital during January 2516 to January 2017. Participants of the study comprised 120 stroke patients, 120 primary caregivers, 30 service providers in multidisciplinary team of the examined tertiary care hospital. The parties involved in the care of strike patients were 60 public health officers from the community hospital and the sub-district health promotion hospital, and 25 local administration organization officers. Data were collected by using in-depth interview, focus group discussion, participatory observation and document study. Quantitative data were analyzed by using descriptive statistics, while qualitative data by content analysis.

        The study results found that there occurred a standard care system for stroke patients, starting from the patient screening process, referring patients to be admitted for care in the hospital in case of symptoms, caring and healing by multidisciplinary team in hospital, using the nurse case managers to manage care, developing skills to care among patients and primary caregivers, and ending with referring patients to be cared by community. The multidisciplinary team did participate with the visiting community work units to provide assistance based on individual issues and needs and contributed to clinical effectiveness. Suffice it to say that the rate of receiving the drug for dissolving blood clots in the veins (rt-PA) and the satisfaction of patients and their relatives increased. The complications before discharge, the number of days in bed, the cost of treatment, and the rate of recurrence in 28 days all decreased. However, there is still an increase in a continuous development to be in proactive care at home by the health and community teams.

    Download Full Paper: